5 ธ.ค. 2554

เริ่มเตรียมตัวสอบราชการอย่างไร ?

เข้าไปหาคู่มือของชีตรามเลยไปเจอบทความอันนึงให้แง่คิดที่มากเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบราชการเอามาให้เพื่อนๆได้อ่านดูค่ะ เห็นว่ามีประโยชน์ อาจจะยาวสักหน่อยแต่รับรองเพื่อนๆจะได้แง่คิดค่ะ

1. ความสำคัญในการสอบราชการ
- ในการสอบเข้ารับราชการทุกสังกัดทั้ง ก.พ. ครูสังกัด ก.ค., สพฐ. ข้าราชการสังกัด กทม. อบต. เทศบาลมีการแข่งขันกันในอัตราที่สูงมาก ทั้งนี้เพราะว่ามีผู้ต้องการเป็นข้าราชการเป็นจำนวนมากและจำนวนอัตราที่บรรจุมีน้อย ประกอบกับมีผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ในแต่ละปี มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การแข่งขันจึงนับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะสอบแข่งขันเข้ารับราชการในสังกัดต่าง ๆ จะต้องเตรียมตัวในการสอบให้พร้อม

ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ การมีหนังสือที่ช่วยในการสอบแข่งขันกับคนอื่น ๆ ได้ ปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งที่ผู้เขียนทราบก็คือ การขาดหนังสือที่ตรงกับหลักสูตรและเนื้อหาที่อธิบายวิชาการทำอย่างละเอียดเหมาะสมกับผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์น้อย ภาคความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล

2. ขั้นตอนการสอบแข่งขันเข้ารับราชการ


- ขั้นตอนในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการในสังกัด ก.พ. ครูสังกัด ก.ค. ข้าราชการสังกัด กทม. และเทศบาล จะมีการสอบ 3 ภาค คือ

ภาค ก. ความรู้ความสามารถทั่วไป เป็นข้อสอบ ปรนัย 100 ข้อ 200 คะแนน แบ่งออกเป็น
1) วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล เป็นข้อสอบ ปรนัย 50 ข้อ รวม 100 คะแนน
2) วิชาภาษาไทย เป็นข้อสอบปรนัย 50 ข้อ รวม 100 คะแนน

ในส่วนของภาค ก.ความรู้ความสามารถทั่วไป โดยส่วนมากจะตัดผ่านที่ 60 % ของคะแนนรวม (และไม่นำมาคิดคะแนนรวมกับภาค ข. ) คือสรุปคะแนนผ่าน 60% ของคะแนนรวมก็จะตรวจข้อสอบ ภาค ข. ต่อไป ถ้า้่ไม่ผ่าน 60 % ของคะแนนรวม ก็ถือว่าสอบตก

ภาค ข. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (วิชาชีพ) รวม 200 คะแนน

- ข้อสอบในส่วนนี้ อาจจะเป็นปรนัยทั้งหมด หรือ ปรนัยผสมอัตนัย ก็ได้ แต่โดยส่วนมากเกิน 80 %ของทุกหน่วยงานจะเป็นปรนัย ( มีตัวเลือก ก ข ค ง)

ในการสอบ ภาค ข. จะมีประกาศออกมาเมื่อเปิดรับสมัครสอบว่าจะสอบในหัวข้อใดบ้าง

โดยส่วนใหญ่ จะเป็น พรบ.(กฏหมาย) ที่ต้องรู้และข้อปฎิบัติในหน่วยงานที่จัดสอบ และความรู้เฉพาะตำแหน่ง เช่น นักพัฒนาชุมชน ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาชุมชน เป็นต้น

ภาค ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง รวม 100 คะแนน

ในส่วนนี้จะคัดมาจากผู้ที่สอบได้คะแนนในภาค ก. และ ข. ตามเกณฑ์ที่กำหนดในการสอบจะดู บุคลิกภาพ และสัมภาษณ์ พร้อมกับดูผลการเรียน จากประวัติการเรียนในบางตำแหน่งอาจจะมีการสอบอย่างอื่นด้วย เช่น ในตำแหน่งปลัดอำเภอและผู้ช่วยนายทะเบียน จะมีการสอบให้ผู้สมัครพูดในหัวข้อสั้น ๆ ที่ได้เตรียมเอาไว้ให้ และมีการสอบวิ่งในระยะทางที่กำหนดในเวลาที่กำหนดให้ ซึ่งผู้สมัครจะต้องศึกษาจากหลักสูตรในการสอบในแต่ละครั้ง ไป ซึ่งในที่นี้พูดเฉพาะวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปเท่านั้น

โดยสรุป การสอบได้ลำดับที่ 1 2 3 ... ไล่ลงมาเรื่อย อยู่ที่คะแนน ภาค ข.+ ภาค ค.ใครจะได้คะแนนมากกว่ากัน .. ครับ

3. การสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ตามหลักสูตรของ ก.พ. วิชาความสามารถทั่วไปของ ก.พ. ถือว่าเป็นวิชาที่ยากที่สุด


- วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. ถือว่าเป็นวิชาที่ยากทีสุด ยากกว่าข้อสอบของ ก.ค., กทม., และเทศบาล ดูจาอัตราผู้ที่สอบผ่านวิชานี้มีเพียง 10 - 20% ของผู้ที่สอบทั้งหมด ข้อสอบของ ก.พ. มีทั้งส่วนที่ง่าย ปานกลาง และยาก ที่สำคัญก็คือผู้เข้าสอบจะไม่สามารถทำข้อสอบได้ทั้งหมดในเวลาที่กำหนดให้ ผู้สอบจึงจำเป็นต้องศึกษาว่าข้อสอบชนิดใดง่ายหรือปานกลาง หรือยาก และมีจำนวนข้อสอบเท่าใดและตนเองถนัดในเรื่องใดที่จะต้องเลือกทำก่อนเรื่องอื่น อย่าใช้วิธีทำจากข้อ 1 ไล่ไปเรื่อย ๆ เหมือนกับที่เคยทำข้อสอบสมัยเรียนในระดับมัธยมหรืออุดมศึกษา ซึ่งจะใช้ไม่ได้กับการทำข้อสอบของ ก.พ. แต่จะต้องเลือกทำจากข้อสอบที่ง่ายและถนัดก่อน ตามด้วยข้อสอบ ยากปานกลาง ส่วนข้อสอบยากไว้ทำภายหลัง

องค์ประกอบของข้อสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 วิชา คือ วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปผล กับวิชาภาษาไทย
ดังมีรายละเอียดดังนี้

- วิชาความรู้ความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปผล ซึ่งตามหลักสูตรของ ก.พ. ได้กำหนดเนื้อหาของวิชาไว้ดังนี้

ทดสอบความรู้ความสามารถในการศึกษา การวิเคราะห์และสรุปผล โดยให้วิเคราะห์จับประเด็นจากข้อมูล เหตุการณ์หรือเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

การหาแนวโน้มหรือการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูล หรือสมมุติฐาน การคิดวิเคราะห์แล้วสรุปความเป็นอุปมา อุปไมย โดยอาศัยความรู้ทั่วไป และคิดหาเหตุผลด้วยตัวเลข"

เนื้อหาของข้อสอบ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ความสามารถทางด้านตัวเลข ด้านความมีเหตุผล และด้านภาษา แต่ละกลุ่มมีจำนวนข้อสอบโดยประมาณและความยากง่ายดังนี้
1. ความสามารถด้านตัวเลข แบ่งเป็น
1.1 คณิตศาสตร์ทั่วไป จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5 ข้อ - ยาก
1.2 อนุกรม จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5 ข้อ - ยาก
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5 ข้อ - ปานกลาง

2. ความสามารถด้านความีเหตุผล แบ่งเป็น
2.1 อุปมาอุปไมย จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5-10 ข้อ - ปานกลาง
2.2 การสรุปความจากเงื่อนไขทางภาษา จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 10 ข้อ - ยากมาก
2.3 การสรุปความจากสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 10 ข้อ - ยากมาก
2.4 ความสัมพันธ์จากรูปภาพ (มิติสัมพันธ์) (ระดับ 3 มักไม่ค่อยออก) จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 0-5 ข้อ - ปานกลาง

3. ความสามารถทางด้านภาษา (ความเข้าใจภาษา) จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5 ข้อ - ปานกลาง

- จะเห็นได้ว่าข้อสอบประเภทนี้ ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และตัวเลขที่ 20 - 25 ข้อ จึงนับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้ที่อ่อนคณิตศาสตร์ หรือทิ้งคณิตศาสตร์มานาน ผู้เรียนจะต้องทำความเข้าใจหลักทฤษฎีหรือมีความรู้พื้นฐาน และหมั่นทำแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่า ๆ ให้เกิดความชำนาญให้มาก

- ส่วนที่จะต้องให้ความสำคัญค่อนข้างมากคือคณิตศาสตร์ทั่วไป แม้ว่าคณิตศาสตร์ทั่วไปจะมีข้อสอบที่ถามโดยตรงเพียง 5 ข้อ แต่ความรู้คณิตศาสตร์ทั่วไปจะช่วยในการทำข้อสอบหัวข้ออื่น ๆ ในเรื่องของอนุกรม การวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง การสรุปความจากเงื่อนไขทางภาษา (บางส่วน) และการสรุปความจากสัญลักษณ์คณิตศาสตร์

ซึ่งมีข้อสอบประมาณ 20-25 ข้อ ผู้ที่อ่อนคณิตศาสตร์ก็ควรจะทำคะแนนเหล่านี้ไว้บ้าง ไม่ใช่ปล่อยทิ้งไปเลย ซึ่งจะเป็นการยากที่จะคะแนนส่วนอื่น ๆ ให้ได้ถึง 50 ข้อ

- หนังสือที่ควรจะอ่านเพิ่มเติมในด้านความสามารถด้านตัวเลข

1. หนังสือความรู้ความสามารถทั่วไป ตามหลักสูตร ก.พ.
2. คณิตศาสตร์ชั้น ม.1-3 ดูในเรื่องการคำนวณขั้นพื้นฐาน ซึ่งสำคัญมาก
3. คณิตศาสตร์ชั้น ม.4-6 ดูในเรื่องสถิติเบื้องต้น, ตรรก, สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์, ระบบจำนวนและเซท
4. คณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรี ดูในเรื่องดังข้อ 3 ข้างต้น

- ข้อสอบ ก.พ. นั้นออกข้อสอบในความรู้ในระดับ ม.1-6 ดังนั้น ถ้าจะดูคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรีให้เข้าใจว่า เนื้อหาจะสูงกว่าที่ออกข้อสอบ แต่ถ้าหากอ่านในระดับปริญญาตรีจะทำให้ได้เปรียบกว่า แต่ถ้าหากไม่มีเวลาก็ไม่จำเป็น

- วิชาภาษาไทย 50 ข้อ 100 คะแนน แบ่งออกเป็นข้อสอบ ประเภทต่าง ๆ โดยประมาณ ดังนี้

1. ศัพท์
1.1 การเขียนตัวสะกด จำนวนข้อสอบ 0-5 ข้อ - ยาก
1.2 ความหมายของคำและกลุ่มคำ จำนวนข้อสอบ 10 ข้อ - ปานกลาง

2. ความเข้าใจภาษา จำนวนข้อสอบ 25 ข้อ - ยาก
2.1 ข้อความ (ทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว)
2.2 บทความ

3. การเขียน
3.1 การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ จำนวนข้อสอบ 5 ข้อ - ปานกลาง
3.2 การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา จำนวนข้อสอบ 5 ข้อ - ปานกลาง
3.3 การเรียงความ จำนวนข้อสอบ 5 ข้อ - ปานกลาง

- จะเห็นได้ว่า ภาษาไทยตามหลักสูตรของ ก.พ. ส่วนใหญ่จะเน้นความเข้าใจภาษา และการเขียนเป็นหลัก ส่วนการเขียนตัวสะกดจะมี หรือไม่มีก็ได้ (แต่ควรจะดูไว้บ้างเผื่อว่าจะออกมา) ผู้สอบจะต้องอ่านความรู้พื้นฐานของภาษาไทย และหมั่นทำแบบฝึกหัดมาก ๆ เช่นเดียวกัน

- หนังสือที่ควรอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาไทย คือ

1. หนังสือความรู้ความสามารถทั่วไป ตามหลัดสูตร ก.พ.
2 . หลักภาษาไทย (TH101) ของ ม.รามคำแหง ดูเฉพาะเรื่องการใช้ภาษามากกว่า จะดูเรื่องไวยากรณ์
3 . การเตรียมตัวเพื่อการพูดและเขียน (TH 103) ของ ม.รามคำแหง
4 . การใช้ภาษาไทย ตำรางของมหาวิทยาลัย เช่น ของ มสธ.
5 . การใช้ภาษาไทย ระดับ ม.1-6

สำหรับผู้ที่อ่อนคณิตศาสตร์จำนวนไม่น้อยสามารถสอบวิชา ก.พ. ผ่านได้ โดยให้มามุ่งทำข้อสอบภาษาไทยให้ได้คะแนนดี ๆ เพราะดังที่ได้เรียนให้ทราบแล้วว่า

ส่วนใหญ่ไม่สามารถทำข้อสอบได้หมดทุกข้อ มักจะทำไม่ทันเวลา จะต้องข้าม หรือใช้วิธีเดาในการทำข้อสอบ ดังนั้นผู้ที่อ่อนคณิตศาสตร์ไม่ควรท้อถอยหรือหมดกำลังใจ

4. การสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ตามหลักสูตรของ ก.ค. , สพฐ.


4.1 วิชาความรู้ความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปผล ในข้อสอบของ ก.ค. สพฐ. ที่ผ่านมา ไม่มีข้อสอบแบบการสรุปความจากสัญลักษณ์ จะเน้นหนังที่คณิตศาสตร์

ในแนวการวัดความถนัด (APTITUDE TEST) ซึ่งจะวัดความเข้าใจและความสามารถในเชิงวิเคราะห์มากกว่าความสามารถในการจำ (ซึ่งหมาความว่าไม่เน้นในการจำสูตรต่าง ๆ)ส่วนเนื้อหาในส่วนอื่น ๆ ก็มีข้อสอบพอสมควร เช่น อนุกรม การวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง อุปมาอุปไมย ความสามารถด้านภาษา การสรุปความจากเงื่อนไขทางภาษา

4.2 วิชาภาษาไทย ข้อสอบของ ก.ค. จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเขียนตัวสะกด ความหมายของคำและกลุ่มคำ ความรู้ทางด้านหลักภาษาหรือไวยากรณ์ การอ่าน การใช้ราชาศัพท์
การเลือกใช้คำและกลุ่มคำ การเขียนประโยคที่ถูกต้อง ความเข้าใจภาษามาจากการอ่านข้อความและบทความ สรุปว่าหลักสูตรภาษาไทยของ ก.ค. จะต่างไปในขณะที่ข้อสอบ ก.พ. มักจะไม่เรื่องข้างต้น

5. การสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปของ กทม.

5.1 วิชาความรู้ความารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล ในข้อสอบของ กทม. จะไม่มีข้อสอบการสรุปความจากสัญลักษณ์ ลักษณะข้อสอบจะเป็นเรื่องต่างๆ

นอกจากนั้น ผู้สมัครสอบควรจะดูเนื้อหาเรื่องคณิตศาสตร์พื้นฐานให้มากหน่อย เพราะจะเป็นพื้นฐานของการทำข้อสอบเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางและแผนภูมิด้วย

สำหรับเงื่อนไขภาษาของ กทม. จะมีเนื้อหาที่ไม่ยากและซับซ้อนมากนัก ดังนั้นผู้อ่านอาจจะอ่านในส่วนแรก ๆ เท่านั้น ส่วนที่ยากและซับซ้อนอาจจะอ่านเมื่อมีเวลาเหลือก็ได้

5.2 วิชาภาษาไทย ข้อสอบภาษาไทยของ กทม. มีลักษณะคล้ายกับข้อสอบภาษาไทยของ ก.พ. จะเน้นเรื่องความเข้าใจภาษา คือ การอ่านข้อความและบทความ นอกจากนี้ยัง

มีความหมายของคำและกลุ่มคำ การใช้คำและกลุ่มคำ การเขียนประโยคตามหลักภาษา การเรียงประโยค สิ่งที่ไม่เน้น คือการเขียนประโยค (อาจจะมีหรือไม่ก็ได้)

6. การสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปของ อบต. เทศบาล อบจ.

- ข้อสอบความสามารถทั่วไปของเทศบาล อบต. จะคล้ายแนวข้อสอบของ ก.พ. (โปรดดูในหัวข้อ) และผู้สอบควรจะศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป และเหตุการณ์ปัจจุบันเอาไว้ด้วย ซึ่งเคยมีข้อสอบถามในเรื่องดังกล่าวด้วย

7. คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนสอบ

1. ศึกษาหลักสูตรของการสอบและแนวการสอบให้ละเอียด โดยศึกษาจากคู่มือการับสมัครและหนังสือแนะนำในการเตรียมสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ซึ่งจะบอก
ถึงหลักสูตรและเนื้อหาในการสอบโดยละเอียด พร้อมทั้งตัวอย่างข้อสอบ (อย่างง่ายๆ) เอาไว้ หนังสือเล่มดังกล่าวถือว่าเป็นแนวกว้าง ๆ ของเนื้อหาข้อสอบเท่านั้น

2. หากหนังสือหรือตำราที่ดีและตรงกับแนวการสอบไว้อ่านและทำแบบฝึกหัด ตำราในท้องตลาดมีมากมาย ไม่ใช่ว่าจะต้องแนวกับการสอบเสมอไป หรือบางเล่มก็เฉลยผิด ๆจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด และสอบตก ควรพยายามสอบถามบุคคลที่เคยสอบมาแล้ว และถามว่าหนังสือเล่มใดที่ตรงและถูกต้องบ้าง อาจจะได้หนังสือที่ถูกต้องไม่ทำให้เราหลงทางและสอบตกในที่สุด

3. ควรหาโอกาสเข้าสอบวิชาความรู้ความสามารถเมื่อมีโอกาสจะทำได้ เพื่อหาประสบการณ์และดูแนนข้อสอบมากขึ้น

4. ควรทำสรุปย่อเนื้อหาของวิชาที่เรียน ทำโน้ตย่อเฉพาะเนื้อหาสำคัญสั้น ๆ ใช้ภาษาของตนเองเพื่อสะดวกในการทบทวน

5. หมั้นทำแบบฝึกหัด การทำแบบฝึกหัดจะช่วยให้เราเข้าใจและจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

6. ควรจับกลุ่มดูหนังสือกับเพื่อน เพื่อจะได้มีกำลังใจในการดูหนังสือ ไม่ว้าเหว่ และเมื่อสงสัยก็สามารถช่วยเหลือกันได้ กลุ่มสำหรับดูหนังสือไม่ควรมากเกินไป หรือน้อยเกินไป คือประมาณ 4-5 คน

7. ให้นึกถึงความสำเร็จทางชีวิต หรือเป้าหมายของชีวิตให้เรามีมานะมากขึ้น โดยพยายามอ่านชีวประวัติบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต จะช่วยให้เรามีมานะมากขึ้น

8. ให้ความสำคัญของการรักษาสุขภาพและสุขภาพจิต ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนและการดูหนังสือได้ผลดี

9. ควรมีแผนการดูหนังสือ เขียนเป็นตารางไว้ แล้วปฏิบัติโดยเคร่งครัด

10. ควรมีสถานที่ดูหนังสือที่เป็นสัดส่วนของตนเอง และเงียบสงบ ซึ่งจะช่วยให้มีสมาธิในการดูหนังสือได้มาก

11. ควรหาคนช่วยสอนในเรื่องที่เราไม่ถนัด เช่น คณิตศาสตร์ เรื่องบางเรื่องถ้าอ่านเองจะเสียงเวลามาก แต่ถ้ามีคนมาอธิบายให้จะเข้าใจง่ายในเวลาอันรวดเร็ว

กาหาสำนักติว ควรจะตรวจสอบดูให้รู้แน่ว่าเชื่อถือได้แค่ไหน โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนว่ามีความรู้จริงหรือไม่ หรือเป็นแค่มือใหม่ สมัครเล่น

12. ควรอ่านหนังสือหรือเรียนด้วยความสนุก มากกว่าจำใจอ่านหรือเรียนแบบแข็ง ๆ จะทำให้ไม่ได้ผล

13. ทำตัวให้สบายไม่เคร่งเครียด หรือมุ่งหวังมากเกินไป จะทำให้เครียด นอนไม่หลับ สุขภาพจะเสื่อมโทรม ขาดสมาธิ แลมีผลจะทำให้อ่านหนังสือไม่จำหรือไม่เข้าใจ ให้คิดว่าถ้าเราสอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ทำอาชีพอื่น ๆ ที่น่าสนใจกว่าก็ยังมี จะทำให้ใจสบาย ไม่เครียด ไม่ฟุ้งซ่าน มีสมาธิและกำลังใจดี อ่านหนังสือธรรมะบ้าง ยึดหลักทางสายกลาง หรือมีการฝึกสมาธิจะช่วยให้การเรียนดีขึ้น

8. คำแนะนำสำหรับในวันสอบ
1. ก่อนวันสอบไม่ต้องกังวล นอนให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง การนอนให้เพียงพอ จะทำให้สมองปลอดโปร่ง ทำให้สอบได้ดี เพราะข้อสอบของ ก.พ. ต้องการความสามารถในการวิเคราะห์ ไม่ใช่ข้อสอบความจำอย่างเดียว ถ้าสมองไม่ปลอดโปร่ง จะทำข้อสอบไม่ได้ดี

 2. ควรเตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม ตั้งแต่ก่อนวันสอบ ทั้งดินสอ ยางลบ ปากกาน้ำเงินและแดง ไม่บรรทัด

3. ไปถึงสนามสอบก่อนเวลาทำการสอบไม่น้อยกว่า 45 นาที เพื่อจะได้ไม่รีบเร่ง และเข้าห้องสอบสายเพราะอาจมีเหตุผลฉุกเฉิน หรือการจราจรติดขัดทำให้ไปถึงสนามสอบไม่ทัน ทำให้เสีบเปรียบคนอื่น ๆ และอาจไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบ ควรไปดูสนามสอบก่อนวันสอบ เพราะสถานที่บางแห่งเราไม่รู้จักจะเสียเวลาหามาก

4. ควรทำข้อสอบในส่วนที่ตนถนัดก่อน ก่อนจะทำข้อสอบให้อ่านดูข้อสอบอย่างคร่าว ๆ ทั้งฉบับก่อน จากนั้นเวลาทำ ส่วนไหนไม่ถนัดและเห็นว่ายากให้ข้ามไปก่อนค่อยกลับมาทำในภายหลัง เพราะข้อสอบทั้ง 2 วิชา แจกพร้อมกันเก็บพร้อมกัน ใช้เวลาทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที หรือ 3 ชั่วโมง เช่น ผู้ถนัดในการวิเคราะห์แบบตัวเลข และคณิตศาสตร์ควรจะทำในส่วนที่เป็นตัวเลข และคณิตศาสตร์ก่อน

ส่วนที่ไม่ถนัดตัวเลขและคณิตศาสตร์ให้ทำในส่วนภาษาไทยก่อนเป็นต้น เนื่องจากว่าข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไปมักจะยาก ผู้สอบที่ทำข้อสอบไม่ค่อยได้ ไม่ควรเสียงกำลังใจ เพราะคนอื่น ๆ ก็คงทำไม่ค่อยได้เหมือนกัน แต่จะแข่งขันว่าใครจะทำได้มากกว่ากัน และอีกประการหนึ่งผู้สอบเกือบทั้งหมดมักทำข้อสอบไม่ทัน เพราะข้อสอบจะมากเกินเวลาที่กำหนดไว้ ผู้สอบจึงควรทำส่วนที่ทำได้ก่อน แม้ว่าจะเสียเวลาไปเกินข้อสอล 1.5 นาที (ข้อสอบ 100 ข้อ เวลา 150 นาที เฉลี่ยข้อสอบ 1.5 นาที) ไปบ้าง เพราะถือหลักว่าข้อที่เราทำได้และแน่ใจว่าทำถูกย่อมดีกว่า

แน่นอนกว่าจะไปทำข้ออื่น ๆ ที่เราไม่แน่ใจ แต่ข้อที่เราทำได้กินเลามาก ๆ เช่น 5 นาทีอาจจะต้องกลับมาทำภายหลัง ถ้ามีเวลา

5. การทำข้อสอบปรนัยนั้น บางครั้งอาจจะต้องใช้วิธีเดา ในกรณีเช่นนี้ใด้ตัดข้อที่ผิดอย่างเห็นได้ชัดออกไปจนเหลือข้อที่ไม่แน่ใจสัก 2 ตัวเลือก แล้วจึงเดาระหว่าง 2 ตัวเลือกโดยข้อที่เราแน่ใจมากที่สุดเป็นคำตอบ (แต่โปรดดูว่าการกาจะติดลบหรือไม่ ถ้าติดลบไม่ควรเดา)

- 6. อุปกรณ์ที่จะต้องนำเอาไปด้วย คือ นาฬิกา เพื่อจะได้ดูเวลา พยายามอย่าเสียเวลากับข้อสอบที่ยากมาก และใช้เวลามากเกินไปเพราะจะกินเวลาข้อสอบข้ออื่น ๆ

เมื่อทำข้อสอบไม่ทันจริง ๆ ใน 5 นาที สุดท้ายก็ให้เดาคำตอบของข้อสอบที่เหลือไปได้เลย ยกเว้นในคำสั้งบอกว่า ถ้าทำผิดจะติดลบ ต้องอ่านคำสั้งให้ละเอียดก่อนทำข้อสอบทุกครั้ง

คัดลอกจากหนังสือของ อ.กฤติน วงศ์มหาริมาตรและปรับปรุงเพิ่มโดยทีมงานSheetram.com

Credit อ.กฤติน วงศ์มหาริมาตร
Modify By Fafa
Advertisement