เทคนิคฝึกสมองให้คิดเก่ง คิดเร็ว
ช่วงนี้ใกล้จะสอบท้องถิ่นกันแล้ว หลายคนเตีรยมตัวสอบอย่าง ขะมักเขม้นเลย บางคนก็อ่านทันบ้าง หลายคนก็อ่านไม่ทันบ้าง วันนี้ Fa มีเทคนิคจากหนังสือชีวจิตมาฝากเพื่อนๆกันค่ะ ไปดูเทคนิคการฝึกสมองกันจ้า
เมื่อนั่งทำงานนานๆ สมองถูกใช้งานอย่างหนัก คงต้องมีบ้างที่เราจะเจอกับภาวะ “คิดอะไรก็คิดไม่ออก”
หนังสือเรื่อง “ศาสตร์ชีวิต” เขียนไว้ว่า สมองของมนุษย์มีระบบการทำงานที่เชื่อมโยงซับซ้อน ซึ่งการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการรับข้อมูล และการนำข้อมูลเหล่านั้นผ่านเข้าสู่กระบวนการจดจำ ดังนั้น การที่เราคิดอะไรไม่ค่อยออก จึงอาจแปลว่าสมองไม่ได้ทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเต็มที่ หรือข้อมูลที่ได้รับการบันทึก มีแต่ข้อมูลเดิมๆ
ถ้าอย่างนั้น คงถึงเวลาที่เราต้องมาลับสมองกันสักหน่อย โดยใช้ 3 เทคนิคดังนี้ค่ะ
1. คิดแล้วทำ การลงมือทำเป็นผลลัพธ์ของการคิด หากคิดแล้วทำอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สมองได้จดจำวิธีการที่เป็นรูปธรรมจากการลงมือทำ และสามารถหาแนวทางพัฒนากระบวนการคิดและการทำของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไปได้
2. ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หลังจากทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนชำนาญแล้ว ลองออกไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำบ้าง เพื่อเปิดมุมมอง และฝึกสมองให้ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
3. บริหารสมอง 2 ซีก ตามปกติ สมองซีกซ้ายและซีกขวาซึ่งมีหน้าที่ต่างกัน จะทำงานประสานเชื่อมโยงกันโดยอัตโนมัติ การฝึกบริหารสมองทั้ง 2 ซีกบ่อยๆ จึงช่วยให้สมองทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการคิดจึงมีคุณภาพมากขึ้นด้วย
วิธีง่ายๆในการบริหารสมองซีกขวา (การใช้จินตนาการ ความรู้สึก) และซีกซ้าย(การใช้เหตุผล) ที่อยากแนะนำคือ ให้ฝึกขีดๆเขียนๆอะไรก็ได้ โดยใช้ทั้งมือข้างที่ถนัดและไม่ถนัด สมองจะประสานงานกันได้ดีขึ้น
เมื่อนั่งทำงานนานๆ สมองถูกใช้งานอย่างหนัก คงต้องมีบ้างที่เราจะเจอกับภาวะ “คิดอะไรก็คิดไม่ออก”
หนังสือเรื่อง “ศาสตร์ชีวิต” เขียนไว้ว่า สมองของมนุษย์มีระบบการทำงานที่เชื่อมโยงซับซ้อน ซึ่งการเรียนรู้ของมนุษย์เกิดจากการรับข้อมูล และการนำข้อมูลเหล่านั้นผ่านเข้าสู่กระบวนการจดจำ ดังนั้น การที่เราคิดอะไรไม่ค่อยออก จึงอาจแปลว่าสมองไม่ได้ทำงานเชื่อมโยงกันอย่างเต็มที่ หรือข้อมูลที่ได้รับการบันทึก มีแต่ข้อมูลเดิมๆ
ถ้าอย่างนั้น คงถึงเวลาที่เราต้องมาลับสมองกันสักหน่อย โดยใช้ 3 เทคนิคดังนี้ค่ะ
1. คิดแล้วทำ การลงมือทำเป็นผลลัพธ์ของการคิด หากคิดแล้วทำอย่างต่อเนื่อง จะทำให้สมองได้จดจำวิธีการที่เป็นรูปธรรมจากการลงมือทำ และสามารถหาแนวทางพัฒนากระบวนการคิดและการทำของตัวเองให้ดียิ่งขึ้นต่อไปได้
2. ลองทำในสิ่งที่ไม่เคยทำ หลังจากทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนชำนาญแล้ว ลองออกไปทำในสิ่งที่ไม่เคยทำบ้าง เพื่อเปิดมุมมอง และฝึกสมองให้ได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ
3. บริหารสมอง 2 ซีก ตามปกติ สมองซีกซ้ายและซีกขวาซึ่งมีหน้าที่ต่างกัน จะทำงานประสานเชื่อมโยงกันโดยอัตโนมัติ การฝึกบริหารสมองทั้ง 2 ซีกบ่อยๆ จึงช่วยให้สมองทำงานร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ผลลัพธ์ที่ได้จากการคิดจึงมีคุณภาพมากขึ้นด้วย
วิธีง่ายๆในการบริหารสมองซีกขวา (การใช้จินตนาการ ความรู้สึก) และซีกซ้าย(การใช้เหตุผล) ที่อยากแนะนำคือ ให้ฝึกขีดๆเขียนๆอะไรก็ได้ โดยใช้ทั้งมือข้างที่ถนัดและไม่ถนัด สมองจะประสานงานกันได้ดีขึ้น