เตรียมสอบอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ
ไปเจอบทความเตรียมตัวสอบมา เห็นว่าดีมากๆเลยอยากให้เพื่อนๆได้ลองเอาไปเป็นแนวทางในการสอบราชการ ลองดูเลยจ้า ตัวบทความ Copy มาจาก http://www.hgctutor.com/
วิธีการเตรียมตัวนั้นเป็นวิธีการเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล แต่ทุกวิธีการต่างก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสอบได้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผู้เตรียมตัวสอบทุกคนจำเป็นต้องมีเหมือนกัน หากอยากจะสอบติดก็คือ ต้องมี “ความเพียร” และมีวินัยในตนเอง กล่าวคือควรที่จะต้องกำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ได้ว่าในระยะสั้นเราต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ต้องอ่านหนังสือวันละกี่ชั่วโมง เมื่อตั้งเป้าไว้แล้วก็ต้องทำให้ได้ และในระยะยาวเรามีเป้าหมายสูงสุดอย่างไร โดยต้องทำในแต่ละช่วงให้ดีที่สุด ซึ่งในการสอบรับราชการทุกหน่วยงานทั้งในอดีตและปัจจุบัน ถ้าถามว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรนั้น โดยหลักทั่ว ๆ ไปที่ผู้แนะนำเคยนำมาใช้และปฏิบัติแล้วได้ผลจริง พอสรุปได้ดังนี้
1. หากคุณมีความต้องการที่จะสอบแข่งขันในสนามสอบของหน่วยงานใดแล้ว ก็จำเป็นที่คุณจะต้องศึกษารายละเอียดในส่วนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสอบ เช่น คุณจะสอบในตำแหน่งใด ก็ต้องหาข้อมูลว่าตำแหน่งนั้นปฏิบัติงานในลักษณะใด มีระเบียบกฎหมายใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงานนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรต้องทราบด้วย
2. เมื่อทำการศึกษาเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ต้องทำการเตรียมวัตถุดิบหรือ การ “เตรียมข้อมูลนั่นเอง” ซึ่งอาจใช้วิธีการคัดเลือกตำราดี ๆ ให้ได้อย่างน้อยสัก 2 – 3 เล่ม เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ่านเปรียบเทียบ และเพื่อ ให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอไม่น้อยจนเกินไป
3. หลักการอ่านก็ควรอ่านทั้งเนื้อหา และฝึกทำข้อสอบย้อนหลัง ซึ่งการได้ฝึกทำข้อสอบเก่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เรารู้ขอบเขตเนื้อหาว่าข้อสอบจะออกประมาณใหน
4. การอ่านหนังสือให้ได้ประโยชน์สูงสุด ต้องมี DIRECTION ไม่ใช่อ่านแบบสะเปะสะปะ เพราะเนื้อหาจะกว้างเกินไปจนจับต้นชนปลายไม่ถูก การหา DIRECTION นี่แหละคือ เคล็ดวิชาอย่างแท้จริง ซึ่งวิธีการ คือ กลับไปดูข้อสอบเก่า ๆ ย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี แล้วศึกษา และจับทางข้อสอบให้ได้ หากจับทางข้อสอบได้แล้ว การสอบในครั้งนั้นหรือครั้งต่อ ๆ ไปก็จะง่ายขึ้นอีกเยอะเลย เพราะการสอบรับราชการในปัจจุบันเกือบทุกกระทรวง ทบวง กรม ลักษณะข้อสอบแทบจะไม่ต่างกันเลย โดยเฉพาะในหมวดความรู้ความสามารถทั่วไป และภาษาไทย จะแตกต่างกันบ้างก็ตรงในส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
5. การอ่านหนังสือทุกครั้ง ต้องมีเป้าหมาย ต้องให้เข้าใจและจำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทั้งเข้าใจและจำได้ พร้อมกันในคราวเดียว เพราะนั่นเป็นความสามารถของพวกอัจฉริยะ แต่คนอย่างเรา ๆ ค่อย ๆ ทำไปทีละอย่าง ซึ่งบางครั้งต้องมีเทคนิคการบังคับจิตให้ยอมเข้าใจ ยอมจำ การอ่านเรื่อย ๆ สักแต่ให้สายตาผ่านตัวหนังสือไปไม่มีประโยชน์อะไร เสียเวลาเปล่าครับ
@ เมื่ออ่านไปแล้ว ประเด็นใดสำคัญก็ต้องขีดเส้นใต้ หรือ เน้น ๆ คำนั้นไว้ เพื่อการอ่านในรอบต่อ ๆ ไป จะกระชับเข้า
@ การจดบันทึกความรู้รอบตัว / เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศก็เป็นข้อมูลสำคัญที่มักจะออกนำมาออกข้อสอบทุกสนาม ซึ่งควรมีข้อมูลจากปัจจุบันย้อนหลังไปอย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี
6. การแบ่งเวลา คือ ขั้นตอนการปฏิบัติของความเพียรและการมีวินัย คุณต้องกำหนดและบังคับตนเองให้ได้ว่าในแต่ละวัน จะทำอะไรเมื่อไหร่ และจะอ่านหนังสือเมื่อใด หนึ่งวันอ่านกี่ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงใกล้สอบ ต้องกำหนดตารางเวลาไว้และต้องปฏิบัติตามให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
7. ทางที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งความสำเร็จของใครคนหนึ่งนั้นไม่อาจได้มาโดยง่ายดาย แต่ต้องใช้ความอดทน การเสียสละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อความสำเร็จ ที่ยิ่งใหญ่กว่า ซึ่งหากเรามีความเพียร มีวินัย และได้ใช้ความพยายามจนถึงที่สุดแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรนั้น อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ไม่ต้องสนใจเป็นไงเป็นกัน แต่จงเชื่อมั่นและศรัทธาในความฝัน แล้วทำมันให้เป็นจริง …. สู้ สู้ สู้ไม่ถอยเท่านั้นที่ครองโลก..
วิธีการเตรียมตัวนั้นเป็นวิธีการเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล แต่ทุกวิธีการต่างก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสอบได้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผู้เตรียมตัวสอบทุกคนจำเป็นต้องมีเหมือนกัน หากอยากจะสอบติดก็คือ ต้องมี “ความเพียร” และมีวินัยในตนเอง กล่าวคือควรที่จะต้องกำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ได้ว่าในระยะสั้นเราต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ต้องอ่านหนังสือวันละกี่ชั่วโมง เมื่อตั้งเป้าไว้แล้วก็ต้องทำให้ได้ และในระยะยาวเรามีเป้าหมายสูงสุดอย่างไร โดยต้องทำในแต่ละช่วงให้ดีที่สุด ซึ่งในการสอบรับราชการทุกหน่วยงานทั้งในอดีตและปัจจุบัน ถ้าถามว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรนั้น โดยหลักทั่ว ๆ ไปที่ผู้แนะนำเคยนำมาใช้และปฏิบัติแล้วได้ผลจริง พอสรุปได้ดังนี้
1. หากคุณมีความต้องการที่จะสอบแข่งขันในสนามสอบของหน่วยงานใดแล้ว ก็จำเป็นที่คุณจะต้องศึกษารายละเอียดในส่วนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสอบ เช่น คุณจะสอบในตำแหน่งใด ก็ต้องหาข้อมูลว่าตำแหน่งนั้นปฏิบัติงานในลักษณะใด มีระเบียบกฎหมายใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงานนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรต้องทราบด้วย
2. เมื่อทำการศึกษาเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ต้องทำการเตรียมวัตถุดิบหรือ การ “เตรียมข้อมูลนั่นเอง” ซึ่งอาจใช้วิธีการคัดเลือกตำราดี ๆ ให้ได้อย่างน้อยสัก 2 – 3 เล่ม เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ่านเปรียบเทียบ และเพื่อ ให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอไม่น้อยจนเกินไป
3. หลักการอ่านก็ควรอ่านทั้งเนื้อหา และฝึกทำข้อสอบย้อนหลัง ซึ่งการได้ฝึกทำข้อสอบเก่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เรารู้ขอบเขตเนื้อหาว่าข้อสอบจะออกประมาณใหน
4. การอ่านหนังสือให้ได้ประโยชน์สูงสุด ต้องมี DIRECTION ไม่ใช่อ่านแบบสะเปะสะปะ เพราะเนื้อหาจะกว้างเกินไปจนจับต้นชนปลายไม่ถูก การหา DIRECTION นี่แหละคือ เคล็ดวิชาอย่างแท้จริง ซึ่งวิธีการ คือ กลับไปดูข้อสอบเก่า ๆ ย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี แล้วศึกษา และจับทางข้อสอบให้ได้ หากจับทางข้อสอบได้แล้ว การสอบในครั้งนั้นหรือครั้งต่อ ๆ ไปก็จะง่ายขึ้นอีกเยอะเลย เพราะการสอบรับราชการในปัจจุบันเกือบทุกกระทรวง ทบวง กรม ลักษณะข้อสอบแทบจะไม่ต่างกันเลย โดยเฉพาะในหมวดความรู้ความสามารถทั่วไป และภาษาไทย จะแตกต่างกันบ้างก็ตรงในส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
5. การอ่านหนังสือทุกครั้ง ต้องมีเป้าหมาย ต้องให้เข้าใจและจำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทั้งเข้าใจและจำได้ พร้อมกันในคราวเดียว เพราะนั่นเป็นความสามารถของพวกอัจฉริยะ แต่คนอย่างเรา ๆ ค่อย ๆ ทำไปทีละอย่าง ซึ่งบางครั้งต้องมีเทคนิคการบังคับจิตให้ยอมเข้าใจ ยอมจำ การอ่านเรื่อย ๆ สักแต่ให้สายตาผ่านตัวหนังสือไปไม่มีประโยชน์อะไร เสียเวลาเปล่าครับ
@ เมื่ออ่านไปแล้ว ประเด็นใดสำคัญก็ต้องขีดเส้นใต้ หรือ เน้น ๆ คำนั้นไว้ เพื่อการอ่านในรอบต่อ ๆ ไป จะกระชับเข้า
@ การจดบันทึกความรู้รอบตัว / เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศก็เป็นข้อมูลสำคัญที่มักจะออกนำมาออกข้อสอบทุกสนาม ซึ่งควรมีข้อมูลจากปัจจุบันย้อนหลังไปอย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี
6. การแบ่งเวลา คือ ขั้นตอนการปฏิบัติของความเพียรและการมีวินัย คุณต้องกำหนดและบังคับตนเองให้ได้ว่าในแต่ละวัน จะทำอะไรเมื่อไหร่ และจะอ่านหนังสือเมื่อใด หนึ่งวันอ่านกี่ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงใกล้สอบ ต้องกำหนดตารางเวลาไว้และต้องปฏิบัติตามให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้
7. ทางที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งความสำเร็จของใครคนหนึ่งนั้นไม่อาจได้มาโดยง่ายดาย แต่ต้องใช้ความอดทน การเสียสละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อความสำเร็จ ที่ยิ่งใหญ่กว่า ซึ่งหากเรามีความเพียร มีวินัย และได้ใช้ความพยายามจนถึงที่สุดแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรนั้น อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ไม่ต้องสนใจเป็นไงเป็นกัน แต่จงเชื่อมั่นและศรัทธาในความฝัน แล้วทำมันให้เป็นจริง …. สู้ สู้ สู้ไม่ถอยเท่านั้นที่ครองโลก..