ก.พ.ร. ย่อมาจากอะไร และมีหน้าที่อะไร ?
หลายคนเคยเกิดความสงสัยว่า กพร หรือ ก.พ.ร. นั้นย่อมาจากอะไรและมีหน้าที่อย่างไรในการบริหารงานราชการ วันนี้ Fa จะมาสรุปให้เพื่อนให้อ่านกันจ้า
โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ ติดต่อกัน
ก.พ.ร. นั้นย่อมาจาก คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ ประกอบด้วย
- นายกรัฐมนตรี หรือ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน
- รัฐมนตรี 1 คน รองประธาน
- ผู้แทนคณะกรรมการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรการปกครองส่วนท้องถิ่น 1 คน
- ผู้ทรงคุณวุฒิ ไม่เกิน 10 คน
- เลขาธิการ ก.พ.ร. กรรมการและเลขานุการ
โดยกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ดำรงตำแหน่ง คราวละ 4 ปี ไม่เกิน 2 วาระ ติดต่อกัน
หน้าที่ของ ก.พ.ร. โดยย่อ
- เสนอ คณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการ โครงสร้างระบบ งบประมาณ บุคลากรมาตรฐานทางคุณธรรมและจริยธรรม และค่าตอบแทน
- เสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์และมาตรฐานในการจัดตั้ง โอน ยุบ เลิก กำหนดชื่อ เปลี่ยนชื่อ การกำหนดอำนาจหน้าที่ และการแบ่งส่วนราชการของกระทรวง ทบวง กรม
- เสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีในการตราพระราชกฤษฏีกา และออกกฏตามพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน
- ดำเนินการให้มีการชี้แจงทำความเข้าใจ แก่ส่วนราชการ เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง และประชาชน
- ตีความ วินิจฉัย ปัญหาที่เกิดจากการใช้บังคับเกี่ยวกับพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน หรือพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม
- จัดทำรายการประจำปีเกี่ยวกับการพัฒนาและจัดระบบราชการของรัฐอย่างอื่นเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อเสนอต่อสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา
โดยสำนักงาน กพร. สังกัด สำนักนายกรัฐมนตรี ขึ้นตรงต่อนายกรัฐมนตรี