เจตคติต่อวิชาชีพของครู คือ ?
เจตคติต่อวิชาชีพของครู หมายถึง อะไร วันนี้ Fa เอามาฝากเพื่อนๆที่กำลังจะสอบครูจ้า
เจตคติต่อวิชาชีพของครูนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะคุณภาพของการสอนจะเป็นไปในรูปใดนั้น ความสำคัญส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเจตคติต่ออาชีพของผู้สอน และเจตคติของผู้สอนย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กด้วย (Serenson, 1964)
ดังนั้นคุณภาพของครูจึงเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
จากการศึกษาพบว่า ครูที่มีเจตคติไม่ดีต่อวิชาชีพของตน เช่น ไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพ ตลอดจนไม่มีความภาคภูมิใจ อีกทั้งไม่คิดที่จะปรับปรุงวิชาชีพให้ก้าวหน้าและไม่กระทำตนเป็นครูที่ดีในสายตาของเด็กนักเรียน สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดปัญหาเรื่องระเบียบวินัยในชั้นเรียนซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอน (Uruh, 1977 อ้างถึงใน บุหงา วัฒนา, 2533) อันเป็นเหตุให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่เยาวชน ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด นั่นคือ
สรุปได้อีกนัยหนึ่งว่า หากจะให้การสอนได้ผลดีมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำการสอนควรจะเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ & นิยะดา ศรีจันทร์, 2523)
นักศึกษาก่อนเข้าไปศึกษาในสถาบันจะได้รับการทดสอบวัดแววความเป็นครู นั่นก็คือ การวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูนั่นเอง เพื่อทางสถาบันจะได้รับทราบเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษา ถ้าเป็นเจตคติในทางที่ดี ก็จะได้สนับสนุนส่งเสริมให้คงอยู่ต่อไป แต่ถ้าเป็นเจตคติที่ไม่พึงประสงค์ก็จำเป็นต้องขจัด หรือเปลี่ยนแปลงเจตคติที่ไม่พึงปรารถนานี้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมในทางที่จะส่งเสริมให้เกิดเจตคติต่อวิชาชีพครูในทางที่ดี หรือหาหนทางที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อวิชาชีพครู เพราะถ้าผู้ประกอบวิชาชีพครูมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาชีพของตนแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีความพอใจและแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและไม่ขวนขวายที่จะทำงานให้ได้ผลเต็มที่ นับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาบุคคลหรือเยาวชนอย่างมาก (ส่งศรี ชมภูวงศ์, 2524)
ดังนั้นในการวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาอิทธิพลหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อวิชาชีพครู และผู้วิจัยยังสนใจที่จะศึกษาเจตคติต่อวิชาชีพครูของผู้ที่จะออกไปประกอบวิชาชีพครู และการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตครูระดับปริญญาตรี และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนเจตคติต่อวิชาชีพครู ผู้วิจัยจึงเลือกศึกษานักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในกลุ่มนักศึกษาที่ชั้นปีและสาขาวิชาต่างกัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง เมื่อนักศึกษาได้เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนในคณะศึกษาศาสตร์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อวิชาชีพครูนั้น มีอยู่หลายประการ ทั้งในด้านปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยทางสังคมและจิตลักษณะ ซึ่งในการวิจัยได้ศึกษาปัจจัยส่วนตัว เฉพาะด้านเพศ ชั้นปี สาขาวิชา และผลการเรียน ปัจจัยทางสังคมศึกษาเฉพาะการปฏิบัติทางพุทธศาสนา และจิตลักษณะศึกษาเฉพาะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การหยั่งลึกทางสังคม
นอกจากนี้ได้ศึกษาเรื่องพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นแรงจูงใจและแรงกระตุ้นให้นักศึกษา มีพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการศึกษา ดังนั้นเจตคติและความตั้งใจต่อการศึกษามีบทบาทสำคัญมาก ในอันที่จะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการศึกษาของนักศึกษา กล่าวคือ ถ้านักศึกษามีเจตคติที่ดีและมีความตั้งใจในการศึกษาทำให้นักศึกษาประสบผลสำเร็จในการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับ ทิตยา สุวรรณชฎ (2520 อ้างถึงใน คำแสง ทะลังสี, 2542) กล่าวว่า เจตคติมีคุณสมบัติเป็นแรงจูงใจอันที่จะทำให้บุคคลประเมินและเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือจะเป็นแนวทางกำหนดพฤติกรรมของบุคคลนั้น จะเห็นได้ว่า การเรียนต่างๆ การเลือกประกอบอาชีพ ทั้งการทำงาน ถ้าบุคคลใดมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งนั้น จะสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้
ดังนั้นพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ช่วยผลักดันให้นักศึกษามีความมานะพยายาม มีความอดทนที่จะเอาชนะต่ออุปสรรค เพื่อบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และพยายามทำสิ่งต่างๆ เหมาะสมต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา
Advertisement
เจตคติต่อวิชาชีพของครูนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะคุณภาพของการสอนจะเป็นไปในรูปใดนั้น ความสำคัญส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเจตคติต่ออาชีพของผู้สอน และเจตคติของผู้สอนย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กด้วย (Serenson, 1964)
ดังนั้นคุณภาพของครูจึงเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ
จากการศึกษาพบว่า ครูที่มีเจตคติไม่ดีต่อวิชาชีพของตน เช่น ไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพ ตลอดจนไม่มีความภาคภูมิใจ อีกทั้งไม่คิดที่จะปรับปรุงวิชาชีพให้ก้าวหน้าและไม่กระทำตนเป็นครูที่ดีในสายตาของเด็กนักเรียน สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดปัญหาเรื่องระเบียบวินัยในชั้นเรียนซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอน (Uruh, 1977 อ้างถึงใน บุหงา วัฒนา, 2533) อันเป็นเหตุให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ
อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่เยาวชน ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด นั่นคือ
สรุปได้อีกนัยหนึ่งว่า หากจะให้การสอนได้ผลดีมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำการสอนควรจะเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ & นิยะดา ศรีจันทร์, 2523)
นักศึกษาก่อนเข้าไปศึกษาในสถาบันจะได้รับการทดสอบวัดแววความเป็นครู นั่นก็คือ การวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูนั่นเอง เพื่อทางสถาบันจะได้รับทราบเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษา ถ้าเป็นเจตคติในทางที่ดี ก็จะได้สนับสนุนส่งเสริมให้คงอยู่ต่อไป แต่ถ้าเป็นเจตคติที่ไม่พึงประสงค์ก็จำเป็นต้องขจัด หรือเปลี่ยนแปลงเจตคติที่ไม่พึงปรารถนานี้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมในทางที่จะส่งเสริมให้เกิดเจตคติต่อวิชาชีพครูในทางที่ดี หรือหาหนทางที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อวิชาชีพครู เพราะถ้าผู้ประกอบวิชาชีพครูมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาชีพของตนแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีความพอใจและแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและไม่ขวนขวายที่จะทำงานให้ได้ผลเต็มที่ นับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาบุคคลหรือเยาวชนอย่างมาก (ส่งศรี ชมภูวงศ์, 2524)
ดังนั้นในการวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาอิทธิพลหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อวิชาชีพครู และผู้วิจัยยังสนใจที่จะศึกษาเจตคติต่อวิชาชีพครูของผู้ที่จะออกไปประกอบวิชาชีพครู และการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตครูระดับปริญญาตรี และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนเจตคติต่อวิชาชีพครู ผู้วิจัยจึงเลือกศึกษานักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในกลุ่มนักศึกษาที่ชั้นปีและสาขาวิชาต่างกัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง เมื่อนักศึกษาได้เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนในคณะศึกษาศาสตร์
ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อวิชาชีพครูนั้น มีอยู่หลายประการ ทั้งในด้านปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยทางสังคมและจิตลักษณะ ซึ่งในการวิจัยได้ศึกษาปัจจัยส่วนตัว เฉพาะด้านเพศ ชั้นปี สาขาวิชา และผลการเรียน ปัจจัยทางสังคมศึกษาเฉพาะการปฏิบัติทางพุทธศาสนา และจิตลักษณะศึกษาเฉพาะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การหยั่งลึกทางสังคม
นอกจากนี้ได้ศึกษาเรื่องพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นแรงจูงใจและแรงกระตุ้นให้นักศึกษา มีพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการศึกษา ดังนั้นเจตคติและความตั้งใจต่อการศึกษามีบทบาทสำคัญมาก ในอันที่จะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการศึกษาของนักศึกษา กล่าวคือ ถ้านักศึกษามีเจตคติที่ดีและมีความตั้งใจในการศึกษาทำให้นักศึกษาประสบผลสำเร็จในการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับ ทิตยา สุวรรณชฎ (2520 อ้างถึงใน คำแสง ทะลังสี, 2542) กล่าวว่า เจตคติมีคุณสมบัติเป็นแรงจูงใจอันที่จะทำให้บุคคลประเมินและเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือจะเป็นแนวทางกำหนดพฤติกรรมของบุคคลนั้น จะเห็นได้ว่า การเรียนต่างๆ การเลือกประกอบอาชีพ ทั้งการทำงาน ถ้าบุคคลใดมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งนั้น จะสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้
ดังนั้นพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ช่วยผลักดันให้นักศึกษามีความมานะพยายาม มีความอดทนที่จะเอาชนะต่ออุปสรรค เพื่อบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และพยายามทำสิ่งต่างๆ เหมาะสมต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา
Advertisement