แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เตรียมตัวสอบ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ เตรียมตัวสอบ แสดงบทความทั้งหมด

10 พ.ย. 2555

เตรียมสอบอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

ไปเจอบทความเตรียมตัวสอบมา เห็นว่าดีมากๆเลยอยากให้เพื่อนๆได้ลองเอาไปเป็นแนวทางในการสอบราชการ ลองดูเลยจ้า ตัวบทความ Copy มาจาก http://www.hgctutor.com/

วิธีการเตรียมตัวนั้นเป็นวิธีการเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล แต่ทุกวิธีการต่างก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสอบได้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผู้เตรียมตัวสอบทุกคนจำเป็นต้องมีเหมือนกัน หากอยากจะสอบติดก็คือ ต้องมี “ความเพียร” และมีวินัยในตนเอง กล่าวคือควรที่จะต้องกำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ได้ว่าในระยะสั้นเราต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ต้องอ่านหนังสือวันละกี่ชั่วโมง เมื่อตั้งเป้าไว้แล้วก็ต้องทำให้ได้ และในระยะยาวเรามีเป้าหมายสูงสุดอย่างไร โดยต้องทำในแต่ละช่วงให้ดีที่สุด ซึ่งในการสอบรับราชการทุกหน่วยงานทั้งในอดีตและปัจจุบัน ถ้าถามว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรนั้น โดยหลักทั่ว ๆ ไปที่ผู้แนะนำเคยนำมาใช้และปฏิบัติแล้วได้ผลจริง พอสรุปได้ดังนี้

1. หากคุณมีความต้องการที่จะสอบแข่งขันในสนามสอบของหน่วยงานใดแล้ว ก็จำเป็นที่คุณจะต้องศึกษารายละเอียดในส่วนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสอบ เช่น คุณจะสอบในตำแหน่งใด ก็ต้องหาข้อมูลว่าตำแหน่งนั้นปฏิบัติงานในลักษณะใด มีระเบียบกฎหมายใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงานนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรต้องทราบด้วย

2. เมื่อทำการศึกษาเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ต้องทำการเตรียมวัตถุดิบหรือ การ “เตรียมข้อมูลนั่นเอง” ซึ่งอาจใช้วิธีการคัดเลือกตำราดี ๆ ให้ได้อย่างน้อยสัก 2 – 3 เล่ม เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ่านเปรียบเทียบ และเพื่อ ให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอไม่น้อยจนเกินไป

3. หลักการอ่านก็ควรอ่านทั้งเนื้อหา และฝึกทำข้อสอบย้อนหลัง ซึ่งการได้ฝึกทำข้อสอบเก่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เรารู้ขอบเขตเนื้อหาว่าข้อสอบจะออกประมาณใหน

4. การอ่านหนังสือให้ได้ประโยชน์สูงสุด ต้องมี DIRECTION ไม่ใช่อ่านแบบสะเปะสะปะ เพราะเนื้อหาจะกว้างเกินไปจนจับต้นชนปลายไม่ถูก การหา DIRECTION นี่แหละคือ เคล็ดวิชาอย่างแท้จริง ซึ่งวิธีการ คือ กลับไปดูข้อสอบเก่า ๆ ย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี แล้วศึกษา และจับทางข้อสอบให้ได้ หากจับทางข้อสอบได้แล้ว การสอบในครั้งนั้นหรือครั้งต่อ ๆ ไปก็จะง่ายขึ้นอีกเยอะเลย เพราะการสอบรับราชการในปัจจุบันเกือบทุกกระทรวง ทบวง กรม ลักษณะข้อสอบแทบจะไม่ต่างกันเลย โดยเฉพาะในหมวดความรู้ความสามารถทั่วไป และภาษาไทย จะแตกต่างกันบ้างก็ตรงในส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

5. การอ่านหนังสือทุกครั้ง ต้องมีเป้าหมาย ต้องให้เข้าใจและจำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทั้งเข้าใจและจำได้ พร้อมกันในคราวเดียว เพราะนั่นเป็นความสามารถของพวกอัจฉริยะ แต่คนอย่างเรา ๆ ค่อย ๆ ทำไปทีละอย่าง ซึ่งบางครั้งต้องมีเทคนิคการบังคับจิตให้ยอมเข้าใจ ยอมจำ การอ่านเรื่อย ๆ สักแต่ให้สายตาผ่านตัวหนังสือไปไม่มีประโยชน์อะไร เสียเวลาเปล่าครับ

@ เมื่ออ่านไปแล้ว ประเด็นใดสำคัญก็ต้องขีดเส้นใต้ หรือ เน้น ๆ คำนั้นไว้ เพื่อการอ่านในรอบต่อ ๆ ไป จะกระชับเข้า

@ การจดบันทึกความรู้รอบตัว / เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศก็เป็นข้อมูลสำคัญที่มักจะออกนำมาออกข้อสอบทุกสนาม ซึ่งควรมีข้อมูลจากปัจจุบันย้อนหลังไปอย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี

6. การแบ่งเวลา คือ ขั้นตอนการปฏิบัติของความเพียรและการมีวินัย คุณต้องกำหนดและบังคับตนเองให้ได้ว่าในแต่ละวัน จะทำอะไรเมื่อไหร่ และจะอ่านหนังสือเมื่อใด หนึ่งวันอ่านกี่ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงใกล้สอบ ต้องกำหนดตารางเวลาไว้และต้องปฏิบัติตามให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้

7. ทางที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งความสำเร็จของใครคนหนึ่งนั้นไม่อาจได้มาโดยง่ายดาย แต่ต้องใช้ความอดทน การเสียสละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อความสำเร็จ ที่ยิ่งใหญ่กว่า ซึ่งหากเรามีความเพียร มีวินัย และได้ใช้ความพยายามจนถึงที่สุดแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรนั้น อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ไม่ต้องสนใจเป็นไงเป็นกัน แต่จงเชื่อมั่นและศรัทธาในความฝัน แล้วทำมันให้เป็นจริง …. สู้ สู้ สู้ไม่ถอยเท่านั้นที่ครองโลก..

3 พ.ค. 2555

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบภายใน 1 เดือน

ไปเจอบทความจาก เย็นตาโฟ.com มา เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาใส่ใน Blog ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน
ใครที่อ่านไม่ทันลองใช้เทคนิคนี้ก็ได้นะ เผื่อจะช่วยเพื่อนๆได้บ้างไม่มากก็น้อย ลองไปดูเทคนิคกันเลย



1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ

2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่

3.สร้างเป้าหมายในชีวิต ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า “ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา” อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน

4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม

5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง

6.สร้างกำลังใจให้ตัวเอง ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใคร กำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที

ขอบคุณบทความจาก
http://webboard.yenta4.com/topic/211543

หวังว่าเพื่อนๆจะนำไปใช้ประโยชน์กันได้จ้า

แนวข้อสอบบรรจุข้าราชการมองทางขวามือได้เลยนะ
ถ้าเพื่อนๆเห็นว่า Blog นี้มีประโยชน์
กด like ให้ด้วยจ้า

http://www.facebook.com/korsorbdee