แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระเกี่ยวกับราชการ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ สาระเกี่ยวกับราชการ แสดงบทความทั้งหมด

5 ม.ค. 2556

8 วิธีอ่านหนังสือสอบได้อย่างเซียน

ไปเจอบทความอ่านหนังสือของน้องๆ เห็นว่ามีประโยชน์กับเพื่อนๆ เลยลองเอามาไว้ที่นี่ เผื่อเพื่อนๆจะได้นำไปประยุกข์ใช้ได้กับการสอบราชการต่างๆ จะได้มีความเชื่อมั่นในตัวเองไม่มากก็น้อยจ้า ลองไปอ่านดุกันเลย

เมื่อ ลองย้อนเวลากลับไปในสมัยที่เรียนอยู่ ช่วงเวลาที่น่าเบื่อที่สุดคือ ช่วงเวลาแห่งการท่องตำราสอบ ไม่ว่าจะเรียนอยู่ในระดับไหนก็หลีกเลี่ยงการท่องตำราสอบกันไม่ได้ทั้งนั้น เคยเป็นไหมที่รู้สึกว่า อยากให้มีเวลาเยอะกว่านี้ เพื่อจะได้อ่านหนังสือสอบให้ทัน วันนี้เราจึงรวบรวมเทคนิคการอ่านให้ได้ประสิทธิภาพ ที่คิดว่าพอจะแก้ปัญหาเกี่ยวกับการอ่านมานำเสนอ ดังนี้

1. หัดให้ตัวเองมีวินัยให้ได้ คือ ถ้าเราวางแผนว่าจะอ่านหนังสือให้ได้เท่านี้สำหรับวันนี้ เราก็ต้องทำให้ได้ วิธีฝึกเริ่มแรกให้กำหนดง่ายๆ ก่อนว่า วันนี้เราจะอ่านตำราแค่ 1 บท หรือ 10 หน้า เป็นต้น เอาแค่นี้ให้ได้ ถ้าอ่านจบเร็วก็ไปทำอย่างอื่น พอวันต่อๆ ไปก็ค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นตามสมควร แล้วก็ต้องอ่านให้ได้ตามเป้าหมาย เมื่อเราอ่านได้ตามเป้าแล้วในแต่ละครั้งก็อย่าลืมให้รางวัลตัวเองด้วยทุก ครั้ง โดยรางวัลก็อาจจะเป็นอะไรง่ายๆ เช่น ได้ดูละครหนึ่งเรื่องตอนกลางคืน เป็นต้น

2. วางแผนการอ่านหนังสือ เมื่อเรามีวินัยและเคารพการวางแผนของตัวเองแล้ว ต่อไปก็ต้อง วางแผนการอ่านหนังสือ การวางแผนที่ดีนั้นสำคัญมาก เพราะทำให้เราเดินไปถูกทิศทาง การวางแผนไม่ถือเป็นการเสียเวลา แต่เป็นการประหยัดเวลาในระยะยาว เพราะไม่ต้องไปเสียเวลาเดินผิดทาง

3. อย่าตะบี้ตะบันอ่านเกินควร อย่าคิดว่าตัวเองเป็น superman คือ สามารถอ่านหนังสือได้เยอะเกินกำลังภายในเวลาอันสั้น อย่าวางตารางการอ่านให้แน่นเกินไป เพราะนอกจากจะทำไม่ได้ตามแผนอยู่แล้ว ยังทำให้ตัวเองเครียดเพราะแผนนั้นโดยไม่จำเป็นด้วย แรกๆ อาจจะกะความสามารถตัวเองยากหน่อย หรือการอ่านตำราภาษาอังกฤษกับภาษาไทยก็ใช้ระยะเวลาการอ่านไม่เท่ากัน ก็ใช้เก็บสถิติจากการอ่านในรอบแรกๆ เช่น การอ่านภาษาอังกฤษ 1 หน้า เราใช้เวลา 10 นาที เราก็จะประมาณถูกว่าต้องใช้เวลาเท่าไรจึงจะอ่านจบบทหรือจบวิชา เป็นต้น

4. หาที่อ่านที่สงบเงียบและนั่งสบาย ส่วนบรรยากาศก็แล้วแต่คนชอบ บางคนชอบอ่านที่บ้าน ในห้องสมุด ในสวนมีต้นไม้เขียวๆ หรือในร้านกาแฟ หรือบางทีเราก็เปลี่ยนไปเรื่อยๆ แต่ควรไม่อยู่ใกล้ทีวี หรือสิ่งต่างๆ ที่ทำให้เราเสียสมาธิ เพราะทำให้เราเสียเวลาในการอ่าน และทำให้จำได้ไม่ดีด้วย แต่ก็ทราบมาว่าบางคนจะชอบให้มีเสียงเพลงหรือเสียงอื่นๆ เวลาอ่านหนังสือด้วย อันนี้ก็แล้วแต่ความชอบ

5. อย่าให้สิ่งใดมารบกวนการอ่าน เวลาอ่านหนังสือ เราควรกำหนดว่า เวลานี้เราจะตั้งใจ และไม่ปล่อยให้อะไรมาขัดโดยไม่จำเป็น เช่น อาจจะปิดเสียงโทรศัพท์มือถือ เป็นต้น คนอื่นก็จะไม่มารบกวนโดยไม่จำเป็น การได้ทำงานหรืออ่านหนังสือเป็นช่วงเวลาติดต่อกันอย่างนี้มีประสิทธิภาพกว่า การอ่านที่ถูกหยุดด้วยสิ่งต่างๆ

6. พักผ่อนสมองบ้าง เมื่ออ่านหนังสือไปนานๆ เราก็จะเริ่มล้า ทั้งสมองที่ต้องคิด ทั้งร่างกายที่ไม่ได้ขยับ ทั้งสายตาที่ต้องจ้องอยู่นาน เราก็ควรกำหนดเวลาพัก อันนี้ก็แล้วแต่คนชอบ อาจจะพักอ่านหนังสือทุกๆ ชั่วโมงหรือ 2 ชั่วโมง โดยออกไปเดินยืดเส้นยืดสาย ดื่มน้ำ ทานขนม หรือไปมองต้นไม้เขียวๆ เวลาพักก็ต้องกำหนดด้วยว่า 5 นาที หรือ 15 นาที เป็นต้น

7. ชอบขีดเส้นหรือเน้นข้อความที่สำคัญในหนังสือโดยไม่หวงหนังสือว่าจะดูเลอะเทอะเลย เพราะชอบเวลากลับมาอ่านทวน เราก็จะรู้ว่าจุดไหนเป็นข้อมูลสำคัญ เรายังสามารถใช้ทบทวนก่อนสอบได้ด้วย สำหรับคนที่ชอบหนังสือใหม่ๆ เกลี้ยงๆ ก็อาจจะต้องหาสมุดกับปากกามาจดสิ่งที่สำคัญจากหนังสือนั้นๆ เพื่อการอ่านทบทวนได้

8. พยายามจัดเวลาอ่านหนังสือในช่วงเวลาที่เราตื่นตัวที่สุด อันนี้แตกต่างกันไป บางคนจะจำได้ดีถ้าอ่านตอนเช้า บางคนเป็นตอนเย็น ก็ต้องสังเกตตัวเองดู ถ้าทราบแล้วอาจจะกำหนดเป็นเวลาประจำทุกวัน เช่น ทุกวันเวลา 2 ทุ่ม - 5 ทุ่ม เราต้องอ่านตำราทบทวนที่เรียนมา เป็นต้น

อย่าลืมทบทวนตำราเรียนทุกวันนะคะ แล้วเอาเทคนิคทั้ง 8 ไปใช้ดู เผื่อประสิทธิภาพในการอ่านจะทำให้เกรดภาคเรียนต่อไปดีขึ้นทันตาก็ได้

ขอบคุณบทความจาก
http://fahsai26.myfri3nd.com/blog/2011/01/17/entry-2

เพื่อนๆลองเอาไปประยุกข์ใช้ได้เลยจ้า

19 พ.ย. 2555

บริหารเวลายังไงดี กับการบรรลุเป้าหมาย

ไปเจอบทความจากเวปกระปุกดอทคอมเห็นว่ามีประโยชน์กับการสอบและเตรียมตัวอ่านหนังสือมาก เพื่อนๆที่กำลังเตรียมตัวสอบหรือยังไม่ได้เริ่มเตรียมตัวหรือ แบ่งเวลาบริหารเวลายังไงดี ไม่ถูกลองเอาสิ่งนี้ไปประยุกข์กับชีวิตประจำวันดูนะ มันจะช่วยได้เลย

จัดการชีวิตให้ง่ายขึ้นด้วย 5 วิธีบริหารเวลาอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้ง ๆ ที่เวลาของทุกคนก็มี 24 ชั่วโมงเท่ากัน แต่กลับเห็นหลาย ๆ คนพูดว่าไม่มีเวลาอยู่เสมอ ที่เป็นแบบนี้สาเหตุส่วนหนึ่งนั้นมาจากการบริหารเวลาแบบผิด ๆ นั่นเอง จึงทำให้ชีวิตสับสน และยุ่งวุ่นวายกันอย่างที่เห็น ในวันนี้เราก็ขอนำวิธีจัดการและบริหารเวลาที่ถูกต้องมาฝากกัน รับรองเลยว่าต่อจากนี้ไปชีวิตของคุณจะง่ายขึ้น และมีเวลาเหลือเฟืออีกเยอะเลยล่ะ

1. จัดตารางเวลา
คุณยังคงจำภาพตารางเรียนในสมัยที่คุณยังเด็กได้ไหม? ตอนนี้ถึงเวลาที่คุณจะเอามันกลับมาใช้แล้วล่ะ หากชีวิตของคุณมันวุ่นวายจนไม่สามารถรับมือได้อีกต่อไป เพียงแค่ลองคิดดูว่าในหนึ่งวันคุณจะต้องทำอะไรบ้าง แล้วเขียนกิจกรรมต่าง ๆ ลงไปในแต่ละช่วงเวลา โดยจัดงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ไว้ช่วงเช้าแล้ววางงานอื่น ๆ ไว้ในช่วงบ่าย ก็จะช่วยให้คุณจัดการเรื่องราวต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังทำให้คุณไม่พลาดทุกงานสำคัญด้วย

2. เรียงลำดับตามความสำคัญ
หากตอนนี้คุณมีรายการสิ่งที่ต้องทำอยู่ในมือแล้ว สิ่งที่คุณต้องทำลำดับต่อไปคือ นำรายการเหล่านั้นมาจัดเรียงตามความสำคัญจากมากไปน้อย และมีงานใดที่ต้องทำต่อเนื่องบ้าง เพื่อทำให้ตัวคุณเองรู้ว่าแต่ละงานต้องใช้เวลามากน้อยเท่าใด และควรจะทุ่มแรงให้กับงานแต่ละชิ้นแค่ไหนเท่านั้นเอง

3. แบ่งเวลางานและเวลาส่วนตัวให้เหมาะสม
วิธีนี้ถือเป็นสุดยอดเคล็ดลับที่จะทำให้คุณจัดการเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวได้ดีขึ้น โดยเมื่อคุณก้าวถึงที่ทำงาน ให้ใช้สมาธิจดจ่ออยู่กับงานเพียงอย่างเดียวเท่านั้นและตัดความคิดเรื่องอื่น ๆ ออกไปให้หมด อีกทั้งควรคุยโทรศัพท์ส่วนตัวเฉพาะเรื่องที่จำเป็นเท่านั้น อีกด้านหนึ่งหากตัวคุณอยู่ที่บ้านก็ไม่ควรนำงานกลับไปทำที่บ้าน ยกเว้นในกรณีที่จำเป็นจริง ๆ เพื่อใช้เวลากับครอบครัวให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้

4. จัดการงานยากให้เสร็จเสียก่อน
ในขณะที่หลายคนมักจะจัดการงานง่าย ๆ ให้เสร็จเป็นอันดับแรก ๆ ก่อนที่จะทำงานยากเพราะงานง่ายมักจะใช้เวลาน้อย และไม่ต้องใช้ความคิดอะไรมาก แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณควรจะสะสางงานยากให้เสร็จสิ้นเสียก่อน เพราะหลังจากที่งานนั้นจบลงคุณก็จะรู้สึกผ่อนคลาย สบายใจ และทำให้มีเรี่ยวแรงสำหรับทำงานชิ้นอื่น ๆ ต่อไปได้นั่นเอง
5. หาเวลาพักบ้าง
การทำงานเป็นเวลาติดต่อกันนาน ๆ จะทำให้สมองและสายตาของคุณเกิดอาการเมื่อยล้า ดังนั้นคุณจึงควรหาเวลาให้ร่างกาย สมอง ได้พัก และละสายตาจากหน้าจอคอมพิวเตอร์บ้าง ครั้งละประมาณ 5 - 10 นาที เพื่อกระตุ้นความคิด และแรงกายแรงใจของคุณให้รู้สึกสดชื่น พร้อมรับมือกับงานชิ้นใหม่อยู่เสมอ ทั้งนี้การพักแต่ละครั้งก็ไม่ควรจะทำบ่อย หรือพักนานเกินไป เพราะอาจทำให้เสียเวลาการทำงานไปโดยใช้เหตุ




เวลาถือเป็นสิ่งที่มีค่า เพราะมันไม่เคยเดินย้อนกลับมา ดังนั้นก็ไม่ควรปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์ หรือเสียเวลากับเรื่องไม่เป็นเรื่องอีก จากนี้มาทำให้ทุกนาทีของคุณมีค่าด้วย 5 วิธีที่เรานำมาฝากกันดีกว่า และหวังว่าวิธีของเราจะทำให้ทั้งเรื่องงานและเรื่องส่วนตัวของคุณผ่านไปอย่างราบรื่นนะครับ




10 พ.ย. 2555

เตรียมสอบอย่างไร ให้ประสบความสำเร็จ

ไปเจอบทความเตรียมตัวสอบมา เห็นว่าดีมากๆเลยอยากให้เพื่อนๆได้ลองเอาไปเป็นแนวทางในการสอบราชการ ลองดูเลยจ้า ตัวบทความ Copy มาจาก http://www.hgctutor.com/

วิธีการเตรียมตัวนั้นเป็นวิธีการเฉพาะตัวของแต่ละบุคคล แต่ทุกวิธีการต่างก็มีจุดประสงค์เดียวกันคือ เพื่อให้เกิดความเข้าใจและสอบได้ ซึ่งสิ่งหนึ่งที่ผู้เตรียมตัวสอบทุกคนจำเป็นต้องมีเหมือนกัน หากอยากจะสอบติดก็คือ ต้องมี “ความเพียร” และมีวินัยในตนเอง กล่าวคือควรที่จะต้องกำหนดเป้าหมายในชีวิตให้ได้ว่าในระยะสั้นเราต้องปฏิบัติตัวอย่างไร ต้องอ่านหนังสือวันละกี่ชั่วโมง เมื่อตั้งเป้าไว้แล้วก็ต้องทำให้ได้ และในระยะยาวเรามีเป้าหมายสูงสุดอย่างไร โดยต้องทำในแต่ละช่วงให้ดีที่สุด ซึ่งในการสอบรับราชการทุกหน่วยงานทั้งในอดีตและปัจจุบัน ถ้าถามว่าจะต้องเตรียมตัวอย่างไรนั้น โดยหลักทั่ว ๆ ไปที่ผู้แนะนำเคยนำมาใช้และปฏิบัติแล้วได้ผลจริง พอสรุปได้ดังนี้

1. หากคุณมีความต้องการที่จะสอบแข่งขันในสนามสอบของหน่วยงานใดแล้ว ก็จำเป็นที่คุณจะต้องศึกษารายละเอียดในส่วนในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสอบ เช่น คุณจะสอบในตำแหน่งใด ก็ต้องหาข้อมูลว่าตำแหน่งนั้นปฏิบัติงานในลักษณะใด มีระเบียบกฎหมายใดที่เกี่ยวข้องบ้าง ข้อมูลโดยทั่วไปเกี่ยวกับหน่วยงานนั้นก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ควรต้องทราบด้วย

2. เมื่อทำการศึกษาเนื้อหาในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว ก็ต้องทำการเตรียมวัตถุดิบหรือ การ “เตรียมข้อมูลนั่นเอง” ซึ่งอาจใช้วิธีการคัดเลือกตำราดี ๆ ให้ได้อย่างน้อยสัก 2 – 3 เล่ม เพื่อใช้ประโยชน์ในการอ่านเปรียบเทียบ และเพื่อ ให้ได้ข้อมูลที่เพียงพอไม่น้อยจนเกินไป

3. หลักการอ่านก็ควรอ่านทั้งเนื้อหา และฝึกทำข้อสอบย้อนหลัง ซึ่งการได้ฝึกทำข้อสอบเก่าจะมีประโยชน์อย่างยิ่ง เพราะจะทำให้เรารู้ขอบเขตเนื้อหาว่าข้อสอบจะออกประมาณใหน

4. การอ่านหนังสือให้ได้ประโยชน์สูงสุด ต้องมี DIRECTION ไม่ใช่อ่านแบบสะเปะสะปะ เพราะเนื้อหาจะกว้างเกินไปจนจับต้นชนปลายไม่ถูก การหา DIRECTION นี่แหละคือ เคล็ดวิชาอย่างแท้จริง ซึ่งวิธีการ คือ กลับไปดูข้อสอบเก่า ๆ ย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี แล้วศึกษา และจับทางข้อสอบให้ได้ หากจับทางข้อสอบได้แล้ว การสอบในครั้งนั้นหรือครั้งต่อ ๆ ไปก็จะง่ายขึ้นอีกเยอะเลย เพราะการสอบรับราชการในปัจจุบันเกือบทุกกระทรวง ทบวง กรม ลักษณะข้อสอบแทบจะไม่ต่างกันเลย โดยเฉพาะในหมวดความรู้ความสามารถทั่วไป และภาษาไทย จะแตกต่างกันบ้างก็ตรงในส่วนกฎหมายที่เกี่ยวข้องเท่านั้น

5. การอ่านหนังสือทุกครั้ง ต้องมีเป้าหมาย ต้องให้เข้าใจและจำได้ แต่ไม่จำเป็นต้องทั้งเข้าใจและจำได้ พร้อมกันในคราวเดียว เพราะนั่นเป็นความสามารถของพวกอัจฉริยะ แต่คนอย่างเรา ๆ ค่อย ๆ ทำไปทีละอย่าง ซึ่งบางครั้งต้องมีเทคนิคการบังคับจิตให้ยอมเข้าใจ ยอมจำ การอ่านเรื่อย ๆ สักแต่ให้สายตาผ่านตัวหนังสือไปไม่มีประโยชน์อะไร เสียเวลาเปล่าครับ

@ เมื่ออ่านไปแล้ว ประเด็นใดสำคัญก็ต้องขีดเส้นใต้ หรือ เน้น ๆ คำนั้นไว้ เพื่อการอ่านในรอบต่อ ๆ ไป จะกระชับเข้า

@ การจดบันทึกความรู้รอบตัว / เหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่เกิดขึ้นทั้งในและต่างประเทศก็เป็นข้อมูลสำคัญที่มักจะออกนำมาออกข้อสอบทุกสนาม ซึ่งควรมีข้อมูลจากปัจจุบันย้อนหลังไปอย่างน้อย 6 เดือน – 1 ปี

6. การแบ่งเวลา คือ ขั้นตอนการปฏิบัติของความเพียรและการมีวินัย คุณต้องกำหนดและบังคับตนเองให้ได้ว่าในแต่ละวัน จะทำอะไรเมื่อไหร่ และจะอ่านหนังสือเมื่อใด หนึ่งวันอ่านกี่ชั่วโมง โดยเฉพาะช่วงใกล้สอบ ต้องกำหนดตารางเวลาไว้และต้องปฏิบัติตามให้ได้มากที่สุด เท่าที่จะทำได้

7. ทางที่จะไปสู่จุดหมายปลายทางแห่งความสำเร็จของใครคนหนึ่งนั้นไม่อาจได้มาโดยง่ายดาย แต่ต้องใช้ความอดทน การเสียสละความสุขเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อความสำเร็จ ที่ยิ่งใหญ่กว่า ซึ่งหากเรามีความเพียร มีวินัย และได้ใช้ความพยายามจนถึงที่สุดแล้ว ผลจะเป็นอย่างไรนั้น อยู่นอกเหนือการควบคุมของเรา ไม่ต้องสนใจเป็นไงเป็นกัน แต่จงเชื่อมั่นและศรัทธาในความฝัน แล้วทำมันให้เป็นจริง …. สู้ สู้ สู้ไม่ถอยเท่านั้นที่ครองโลก..

9 ก.ย. 2555

10 วิธีที่จะช่วยทำข้อสอบดีขึ้น

บางคนเวลาจะสอบแต่ละทีต้องคอยหาตัวช่วยอยู่เสมอ อย่างเพื่อนๆบางคนเวลาสอบ โด๊ป m100 แบนเนอร์ แบนด์วันล่ะขวดกันเลยทีเดียว ทีนี้ผลตามมาคือ เงินหมด อิอิ วันนี้ FAอาวิธีการช่วยให้ทำข้อสอบดีขึ้นมาบอกจ้า ถ้าเพื่อนๆสนใจก็ดูได้เลย ไปเจอบทความจากเวปไซต์ unigang ลองดูกันจ้า เป็นบทความสำหรับเด็กอ่านหนังสือ แต่ผู้ใหญ่ก็อ่านได้นะ แนวทางเดียวกันเลย

10 วิธีที่จะช่วยให้คุณทำข้อสอบได้ดีขึ้น
Don't cram
วิธีนี้ไม่ได้ผลหรอกการเร่งดูหนังสือในเวลาอันสั้นๆจะทำให้คุณเหนื่อยเปล่า คุณควรเตรียมตัวอ่านและทบทวนหลายๆสัปดาห์ก่อนที่จะสอบ

Practice
ถ้าหากคุณเรียนเฉพาะส่วนที่เป็นข้อเท็จจริงคุณก็จะลืมมัน ได้อย่างรวดเร็ว คุณจำเป็นต้องมีการฝึกฝนเช่นในวิชาภาษาอังกฤษ คุณจะต้องเอาคำศัพท์ใหม่ที่เรียนมานั้นแต่งประโยคและพูดออกมาดังๆ สำหรับวิชาวิทยาศาสตร์คุณจำเป็นจะต้องทำหลาย ๆ แบบฝึกหัดเท่าที่คุณจะทำได้ การฝึกจะทำให้คุณเข้าใจข้อเท็จจริงดีขึ้น

Read with your eyes closed
อันดับแรกคุณก็อ่านจากสมุดจดและหนังสือเรียนด้วยความระมัดระวัง จากนั้นให้ปิดหนังสือและให้หากระดาษมาหนึ่งแผ่น และเขียนหัวข้อสำคัญๆที่อ่านมาแล้ว ซึ่งจะช่วยทำให้คุณเข้าใจว่าคุณจำเป็นจะอ่านทบทวนส่วนไหนเพิ่มเติม

Get the big picture
ทำเป็นโน๊ตย่อหัวข้อที่สำคัญๆโดยดึงเนื้อหาจากสมุดจดหรือจากหนังสือเรียน แบบฝึกหัดหรือสิ่งอื่น ๆ ที่ได้จากห้องเรียน เรียบเรียงลำดับเนื้อหาใหม่ซึ่งจะทำให้คุณเห็นความสัมพันธ์ของเนื้อหาและยัง ทำให้คุณจดจำเนื้อหาได้เป็นเวลานานอีกด้วย

Talk
ให้ถามรุ่นพี่ที่เรียนมาแล้วเกี่ยวกับคำถามหรือเกี่ยวกับ แนวข้อสอบเก่าๆว่าเป็นอย่างไรแล้วคุณจะได้เตรียมถูก หรือพร้อมมากยิ่งขึ้น

Get help
ยามใดที่คุณไม่เข้าใจอะไรสักอย่างขอให้ถามอาจารย์ซึ่งท่าน จะเป็นผู้ที่ช่วยเหลือคุณได้อย่างดีหรืออาจจะเป็นเพื่อน หรือใครก็ได้ที่เข้าใจวิชานั้นเป็นอย่างดีไม่ต้องรอกระทั่งจะถึงวันสอบพรุ่ง นี้แล้วค่อยถาม มันอาจจะเป็นว่าสายเกินไปแล้ว

Triage Principle
ถ้าหากคุณเห็นว่าเวลาเรียนไม่พอแล้ว คุณควรจะทำอย่างไรดี ? ควรจะอ่านในส่วนที่คุณเข้าใจเพียงน้อยนิดหรือควรที่จะอ่านในส่วนที่คุณพอมี ความรู้บ้างคุณควรจะอ่านในส่วนที่คุณพอมีความรู้อยู่บ้างซึ่งจะทำให้คุณรู้ มากยิ่ง ๆ ขึ้น เป็นการดีที่รู้ในบางส่วนที่รู้อยู่แล้วให้รู้มาก ๆ ยิ่งขึ้นดีกว่าการรู้เพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ

Focus on objectives
ให้กลับไปอ่านจุดประสงค์การเรียนอีกรอบ จากนั้นให้ทดสอบรายจุดประสงค์แบบ Pre-test ว่าคุณทำผ่านเกณฑ์ไหม ถ้าจุดประสงค์ไหนทำไม่ได้หรือได้คะแนนน้อย ให้กลับไปเรียนใหม่ตามจุดประสงค์ที่คุณยังไม่รู้เรื่องดีพอ

Manage time
คุณจะต้องดูหนังสืออย่างน้อย 1-2 ชั่วโมงต่อวันในวิชาที่ยากๆอย่างเช่นวิชาเคมี คุณจะต้องจัดตารางเรียนขึ้นมา และจะต้องอ่านตามตารางที่จัดไว้ ให้จัดระบบการอ่านหนังสือกับเพื่อนและจะต้องอ่านตามตารางที่จัดไว้ ซึ่งวิธีนี้จะเป็นบังคับคุณไปในตัวไม่ให้ขี้เกียจ

Relax
พยายามพักผ่อนหรือทำตัวสบายๆอย่าดูหนังสือกับเพื่อนที่ทนงตน หลงตัวเองคิดว่าตัวเองเก่งแล้วไม่ต้องอ่านก็สอบได้ เด็ดขาด คืนก่อนสอบให้เตรียมหนังสือ ปากกาและจัดกระเป๋าให้เรียบร้อยและเขัานอนแต่หัวคํ่า ถ้าหากคุณยังดูหนังสือดึกจะทำให้คุณเหนื่อยและยิ่งทำให้คุณเครียดมากขึ้น เมื่อเข้าสอบจะยิ่งทำให้คุณเบลอไปเลยแหละ!!(นะจะบอกให้)

ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จาก มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต

6 ก.ย. 2555

IQ คืออะไร ?

IQ คืออะไร เคยสงสัยกันบ้างหรือเปล่า ? หลายๆคนมักเข้าใจตรงตัวกันเลยว่า IQ คือแบบนี้นะ IQ คืออย่างนั้นนะ แต่ก็อ้ำอึ้งกันเลยทีเดียวว่าความหมายของมันจริงๆ คืออะไร ไปเจอบทความจากเวปไซต์ tlcthai.com/เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาเผยแพร่ไว้ที่นี่กันค่ะ เราไปดูความหมายของมันกันเลยจ้า

ไอคิวคืออะไร ?

คำว่า IQ ย่อมาจาก Intelligence Quotient หมายถึง ความสามารถทางเชาวน์ปัญญา ซึ่งเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ แสดงออกให้เห็นผ่านพฤติกรรมต่างๆ เป็นสิ่งที่ถูกกำหนดจากพันธุกรรมตลอดไปจนถึงสิ่งแวดล้อม นายวิลเลียม สเตอร์น เป็นคนคิดคำว่า ไอ.คิว. เป็นคนแรก เพื่อบ่งถึงระดับเชาวน์ปัญญาของแต่ละบุคคล โดยใช้สูตร คือ

IQ = [ อายุสมอง (Mental Age) / อายุจริง (Chronologic Age) ] * 100

โดยปกติการวัดระดับไอคิวต้องอาศัยนักจิตวิทยาคลินิกวัดให้ ซึ่งนักจิตวิทยาต้องเป็นผู้ได้รับการฝึกฝนการใช้แบบทดสอบจนชำนาญ และสามารถจัด ไอ.คิว. เป็น 3 ประเภทหลัก ได้แก่

(1) ไอ.คิว. ด้านภาษา (Verbal I.Q.)
(2) ไอ.คิว. ด้านปฏิบัติ (Performance I.Q.)
(3) ไอ.คิว. รวม (Full I.Q.)

วิธีวัดไอคิว
นักวิทยาศาสตร์ได้คิดค้นวิธีการวัดระดับเชาวน์ปัญญาโดยสร้างแบบทดสอบขึ้นมาโดยแบบทดสอบเหล่านี้จะวัดผู้ทำแบบทดสอบในเชิงของทักษะด้านต่างๆดังนี้

* ทักษะด้านคณิตศาสตร์
* ทักษะด้านการใช้ภาษา
* ทักษะด้านการคิดเชิงตรรกะ
* ทักษะด้านการมองเห็น
* ทักษะด้านการจัดหมวดหมู่
* ทักษะด้านความจำในระยะสั้นๆ
* ทักษะด้านความรู้ทั่วไป
* ทักษะด้านความเร็วในการคำนวน

เลข IQ บอกอะไรกับเรา
เมื่อคุณทราบผลคะแนนไอคิวของคุณก็สามารถนำมาเทียบกับตารางสถิติได้ว่าคุณอยู่ในระดับช่วงใด โดย Percent จะแสดงถึงจำนวนเปอร์เซนต์ของประชากรในโลกที่มีระดับไอคิวในช่วงนั้น ระดับเกณฑ์การให้คะแนน

Type IQ Percent
Genius >144 0.13%
Gifted 130-144 2.14%
Above average 115-129 13.59%
Higher average 100-114 34.13%
Lower average 85-99 34.13%
Below average 70-84 13.59%
Borderline low 55-69 2.14%
Low <55 0.13="0.13">
หรือถัาจะมองเป็น Normal Curve จะแสดงได้เป็น



โดยกราฟนี้จะแสดงถึง จำนวนประชากรโดยประมาณที่มีระดับไอคิวอยู่ในแต่ละช่วง ใช้ค่าเฉลี่ยของผลคะแนนเป็น 100 และใช้ sd เป็น 15 ถ้าเราวัดระดับไอคิวทุกคนในโลกจะพบว่า คนส่วนใหญ่ จะมีระดับไอคิวอยู่ในช่วง Average มีเพียงประชากรส่วนน้อยเท่านั้นที่มีไอคิวอยู่ในระดับต่ำมาก หรือสูงมาก ตัวอย่าง ผลวัดคะแนนไอคิวของคุณคือ 115 ในขณะที่คะแนนเฉลี่ยอยู่ที่ 100 แสดงว่าคุณอยู่ใน percentile ที่ 84 ก็หมายความว่าคุณมีไอคิวสูงกว่าคนถึง 84 % ของจำนวนประชากรในโลกนี้ทั้งหมด

อยากเพิ่มไอคิว ???
เรื่องนี้ทำได้ไม่ยากเกินกำลังของพวกคุณหรอกลองทำดูสิ


1. ฝึกฝนเป็นประจำ หมั่นทำปัญหาเชาวน์ พวกแบบทดสอบ ปริศนาอักษรไขว้ และเกมต่างๆ เกมพวกนี้ก็หาได้ง่ายๆ มีอยู่ตามหนังสือพิมพ์และหนังสือนิตยสารต่างๆ หรือถ้าจะให้เข้ากับยุคหน่อยก็ search หาได้ตาม WEB SITE ใน Internet

2. เปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิตประจำวัน อ้าว.. อย่าเพิ่งตกใจสิ หมายความว่า ให้พยายามใช้ประสาทสัมผัสของคุณในการดำรงชีวิตประจำวันอย่างเต็มที่เท่านั้นแหละ ทั้งการมองเห็น การได้ยิน การได้กลิ่น การสัมผัส การรับรส ในสิ่งต่างๆรอบตัวคุณ ทำให้เป็นนิสัยโดยการมีสติ ในการใช้ประสาทสัมผัสรับรู้ทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวคุณ

3. เปลี่ยนกิจกรรมและความคิดของคุณ เราไม่ได้หมายความว่าสิ่งที่คุณทำอยู่มันไม่ถูกต้องหรอกนะ แต่การทำอะไร ซ้ำๆซากๆ มันทำให้เกิดความเคยชิน สมองก็จะถูกให้งานในกระบวนการคิดและการตัดสินใจน้อยลง เดี๋ยวก็สมองฝ่อกันพอดี ! ดังนั้นหัดทำอะไรใหม่ๆบ้าง จะได้กระตุ้นการทำงานของสมองให้ตื่นตัวและมีประสิทธิภาพขึ้น

4. พยามยามหลีกเลี่ยงการใช้เครื่องช่วยเหลือต่างๆ เช่น เครื่องคิดเลข สมุดบันทึก ออกาไนเซอร์ เรียนรู้ที่จะนึกจากความจำของคุณบ้างฝึกตัวเองให้คิดในใจบ้าง เทคโนโลยีต่างๆมันก็ทำให้ชีวิตเราสะดวกดีอยู่หรอก แต่ว่าถ้าคุณไม่หัดทำอะไรได้ด้วยสมองของคุณเอง สุดท้ายคุณก็อาจกลายเป็นคนโง่ในที่สุด

5. พัฒนาความเข้าใจในภาษา เพราะว่าภาษานี่แหละที่เป็นสื่อให้คุณสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆรอบคุณได้รวดเร็วขึ้น

6. ใช้ชีวิตให้ถูกสุขลักษณะ ทานอาหาร ออกกำลังกายและพักผ่อนให้เพียงพอ พวกบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ถ้าหลีกเลี่ยงได้จะดีมาก
IQ สูง หรือ IQ ต่ำ รู้แล้วได้อะไร
* ถ้าผลที่ได้ว่าคุณมีไอคิวต่ำนั่นไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนที่โง่เง่าและไร้ค่า การรู้จักพัฒนาตัวเองและเรียนรู้ชีวิตอย่างคุณค่าและมีความสุขต่างหากล่ะที่เป็นสิ่งสำคัญ
* ถ้าผลที่ได้ว่าคุณเป็นคนที่ไอคิวสูง ก็จริงอยู่ว่าคุณเป็นคนฉลาด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณจะเป็นคนที่วิเศษกว่าคนอื่นๆคุณก็ยังคงเป็นคนธรรมดาคนหนึ่ง จงอย่าคิดว่าตัวเองเหนือกว่าคนอื่นและคอยดูถูกคนอื่นเพราะ คุณนั่นแหละจะเป็นคนที่โง่ที่สุด
* IQ ก็เป็นเพียงเกณฑ์หนึ่งที่คนเราคิด ขึ้นมาเพื่อวัดความสามารถคนในการเรียนรู้ เมื่อพวกคุณรู้ผลที่วัดออกมาได้มันก็อาจจะเป็นแรงกระตุ้นให้อยากที่พัฒนาศักยภาพของการเรียนรู้ ในตัวของพวกคุณ มันเป็นสิ่งที่ดีมิใช่หรือ ที่เราจะได้เห็นความก้าวหน้าในการเรียนรู้ของทุกๆคน นั่นก็บ่งบอกถึงความก้าวหน้าของมวลมนุษยชาติด้วย
ข้อมูลจาก http://www.cp.eng.chula.ac.th/

โดยสรุป IQ แค่ทดสอบไหวพริบทางปัญญาและเชาว์ในการแก้ปัญหา
แต่ IQ ไม่ได้บ่งบอกว่า ถ้าสูงหรือต่ำ คุณจะเป็นคนดี มีศีลธรรม
เมื่อรู้อย่างนี้แล้วเราไปฝึกฝนกันนะ

25 ส.ค. 2555

IELTS คืออะไร แล้วสำคัญอย่างไร ?

IELTS คืออะไร  เห็นหลายคนเคยถาม วันนี้ FA เลยไปหาจากอินเตอร์เน็ตมา บางคนก็ตอบซะยาวเลย เพื่อนๆหลายคนคงขี้เกียจอ่านเลยไปเจอบทความจาก Eduzone เห็นว่ามันสั้นและกระชับดี เลยเอามาเผยแพร่ให้เพื่อนๆที่ต้องการรู้ว่ามันคืออะไร ?

IELTS คือ ชื่อย่อของระบบการวัดผลภาษาอังกฤษนานาชาติ ซึ่งเป็นระบบทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษ สำหรับผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลัก แต่ความประสงค์ที่จะใช้ภาษาอังกฤษในการศึกษาต่อ หรือทำงานทั้งในประเทศและต่างประเทศ IELTS จัดทำและพัฒนาโดย IDP Education Australia; IELTS Australia, the University of Cambridge Local Examinations Syndicate (UCLES) The British Council ซึ่งในปัจจุบันนี้มีศูนย์สอบกว่า 250 แห่งทั่วโลก

เมื่อพูดถึงการทดสอบความรู้ภาษาอังกฤษก่อนไปศึกษาต่อต่างประเทศ คนไทยส่วนใหญ่จะนึกถึงการสอบ TOEFL ซึ่งเป็นการทดสอบระบบ American แต่สำหรับผู้ที่กำลังเตรียมตัวศึกษาต่อที่ประเทศ Australia, England, New Zealand หรือต่างประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ จะต้องใช้ผลสอบ IELTS หรือ TOEFL อย่าใดอย่างหนึ่งก็ได้

เนื่องจากปัจจุบันมหาวิทยาลัย หรือสถานศึกษาต่างๆ ทั้งภายในและต่างประเทศ ต้องการใช้ผลสอบ IELTS มากขึ้นเรื่อยๆ แม้ในแคนนาดาและอเมริกาเอง ก็เริ่มยอมรับผลสอบ IELTS มากขึ้นเช่นกัน IELTS เป็นระบบวัดผลภาษาอังกฤษ สำหรับการศึกษาต่อชนิดเดียว ที่ให้ความสำคัญต่อภาษาอังกฤษทั้ง 4 ทักษะ คือ ฟัง, พูด, อ่าน และเขียน โดยให้คะแนนทั้ง 4 ทักษะ แยกออกจากกัน สามารถวัดผลได้ชัดเจน แม่นยำ และถูกต้องตรงกับความสามารถในการใช้ภาษาที่แท้จริง ของผู้สอบ IELTS จะทดสอบทั้ง 4 ทักษะ โดยการแบ่ง
การทดสอบออกเป็น 2 ช่วง คือ
ช่วงเช้า : สอบข้อเขียน ในเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง 30 นาที
(การฟัง 30 นาที, การอ่าน 60 นาที, การเขียน 60 นาที)

ช่วงบ่าย : สอบสัมภาษณ์ รายบุคคลกับอาจารย์ชาวต่างประเทศใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที
IELTS แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ

Academic : สำหรับผู้ต้องการเรียนต่อในระดับอุดมศึกษาหรือสูงกว่าในทุกสาขา
General Training : สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อในระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา ระดับมัธยมศึกษา หลักสูตรระยะสั้น หลักสูตรฝึกอบรมต่าง ๆ แต่บางสถาบันต้องการให้ผู้สมัครเรียนสอบ Academic Module อันเนื่องมาจากมีความยากง่ายของสาขา ซึ่งผู้สมัครสามารถสอบถามโดยตรงกับสถาบันนั้น หรือเจ้าหน้าที่แนะแนวของ IDP หรือสำหรับผู้ที่มีความประสงค์จะย้ายถิ่นฐานไปออสเตรเลียหรือนิวซีแลนด์

ค่าสมัครสอบ : การทดสอบ IELTS มีค่าสมัครสอบประมาณ 100 $
การเปิดสอบ และการสมัครสอบ : จะมีการเปิดสอบทุกเดือน ตลอดปี เดือนละประมาณ 2 ครั้ง ที่ศูนย์ IDP

หลักฐานในการสมัครสอบ
- รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 ใบ
- สำเนาบัตรประชาชน หรือสำเนาบัตรข้าราชการ หรือสำเนาพลาสปอร์ หรือใบขับขี่
- Bank Draft U$ 100 สั่งจ่าย IDP

หวังว่าคงเป็นประโยชน์กับเพื่อนๆไม่มากก็น้อยจ้า
Credit http://www.eduzones.com/inter-6-2-30446.html

26 ก.ค. 2555

สรุปงานสารบรรณ

สรุปงานสารบรรณจ้า สำหรับเพื่อนๆที่กำลังจะสอบเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สอบครูธุรการโรงเรียน หรือสอบธุรการในหน่วยงานอื่นๆลองเอาสรุปสารบรรณอันนี้ไปอ่านดูนะ มีประโยชน์มากๆเลยค่ะ แต่เสียดาย มันไม่ค่อยชัดเท่าที่ควร แนะนำเพื่อนๆเอาไปปริ๊นอ่านดีกว่านะ

สรุปงานสารบรรณ

ถ้าเพื่อนๆสนใจแนวข้อสอบครูธุรการหรือแนวข้อสอบครูก็สามารถดูได้จากทางขวามือเลยนะ ถ้าไม่แน่ใจก็สามารถหาที่ช่อง Search ได้เลยค่ะ

ชอบใจ Blog นี้อย่าลืม กด like ให้กันด้วยจ้าที่ http://www.facebook.com/korsorbdee

10 ก.ค. 2555

การเขียนหนังสือราชการ

การเขียนหนังสือราชการ เป็นด่านแรกในการสอบเข้าทำงานครูธุรการ เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป หรือ การสอบเกี่ยวกับตำแหน่งธุรการหรือเลขาอื่นๆ ฉะนั้นแล้วการเขียนหนังสือราชการให้เป็นย่อมได้เปรียบกว่าผู้อื่น วันนี้เอาแบบฟอร์มการเขียนหนังสือราชการมาฝากเพื่อนๆค่ะ

แบบฟอร์มการเขียนหนังสือราชการ

ถ้าเพื่อนๆสนใจแนวข้อสอบข้าราชการหน่วยงานอื่นๆก็สามารถหาได้จากช่อง Search หรือดูได้จากทางขวามือเลยจ้า

17 มิ.ย. 2555

เจตคติต่อวิชาชีพของครู คือ ?

เจตคติต่อวิชาชีพของครู หมายถึง อะไร วันนี้ Fa เอามาฝากเพื่อนๆที่กำลังจะสอบครูจ้า

เจตคติต่อวิชาชีพของครูนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญยิ่ง เพราะคุณภาพของการสอนจะเป็นไปในรูปใดนั้น ความสำคัญส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับเจตคติต่ออาชีพของผู้สอน และเจตคติของผู้สอนย่อมมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็กด้วย (Serenson, 1964)


ดังนั้นคุณภาพของครูจึงเป็นกุญแจสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาทุกระดับ



จากการศึกษาพบว่า ครูที่มีเจตคติไม่ดีต่อวิชาชีพของตน เช่น ไม่เห็นคุณค่าและความสำคัญของวิชาชีพ ตลอดจนไม่มีความภาคภูมิใจ อีกทั้งไม่คิดที่จะปรับปรุงวิชาชีพให้ก้าวหน้าและไม่กระทำตนเป็นครูที่ดีในสายตาของเด็กนักเรียน สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้เกิดปัญหาเรื่องระเบียบวินัยในชั้นเรียนซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งต่อการจัดการเรียนการสอน (Uruh, 1977 อ้างถึงใน บุหงา วัฒนา, 2533) อันเป็นเหตุให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างไร้ประสิทธิภาพ

อีกทั้งยังก่อให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์แก่เยาวชน ซึ่งจะส่งผลกระทบถึงความมั่นคงของชาติอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในที่สุด นั่นคือ

สรุปได้อีกนัยหนึ่งว่า หากจะให้การสอนได้ผลดีมีประสิทธิภาพ ผู้ที่ทำการสอนควรจะเป็นผู้ที่มีเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพครู (สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ & นิยะดา ศรีจันทร์, 2523)
นักศึกษาก่อนเข้าไปศึกษาในสถาบันจะได้รับการทดสอบวัดแววความเป็นครู นั่นก็คือ การวัดเจตคติต่อวิชาชีพครูนั่นเอง เพื่อทางสถาบันจะได้รับทราบเจตคติต่อวิชาชีพครูของนักศึกษา ถ้าเป็นเจตคติในทางที่ดี ก็จะได้สนับสนุนส่งเสริมให้คงอยู่ต่อไป แต่ถ้าเป็นเจตคติที่ไม่พึงประสงค์ก็จำเป็นต้องขจัด หรือเปลี่ยนแปลงเจตคติที่ไม่พึงปรารถนานี้ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน และสภาพแวดล้อมในทางที่จะส่งเสริมให้เกิดเจตคติต่อวิชาชีพครูในทางที่ดี หรือหาหนทางที่จะช่วยเปลี่ยนแปลงเจตคติต่อวิชาชีพครู เพราะถ้าผู้ประกอบวิชาชีพครูมีเจตคติที่ไม่ดีต่อวิชาชีพของตนแล้ว ก็ย่อมจะไม่มีความพอใจและแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและไม่ขวนขวายที่จะทำงานให้ได้ผลเต็มที่ นับเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการพัฒนาบุคคลหรือเยาวชนอย่างมาก (ส่งศรี ชมภูวงศ์, 2524)

ดังนั้นในการวิจัยนี้จึงสนใจศึกษาอิทธิพลหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อวิชาชีพครู และผู้วิจัยยังสนใจที่จะศึกษาเจตคติต่อวิชาชีพครูของผู้ที่จะออกไปประกอบวิชาชีพครู และการเรียนการสอนระดับมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นแหล่งผลิตครูระดับปริญญาตรี และมีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนเจตคติต่อวิชาชีพครู ผู้วิจัยจึงเลือกศึกษานักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในกลุ่มนักศึกษาที่ชั้นปีและสาขาวิชาต่างกัน เพื่อดูการเปลี่ยนแปลง เมื่อนักศึกษาได้เข้าสู่กระบวนการเรียนการสอนในคณะศึกษาศาสตร์

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับเจตคติต่อวิชาชีพครูนั้น มีอยู่หลายประการ ทั้งในด้านปัจจัยส่วนตัว ปัจจัยทางสังคมและจิตลักษณะ ซึ่งในการวิจัยได้ศึกษาปัจจัยส่วนตัว เฉพาะด้านเพศ ชั้นปี สาขาวิชา และผลการเรียน ปัจจัยทางสังคมศึกษาเฉพาะการปฏิบัติทางพุทธศาสนา และจิตลักษณะศึกษาเฉพาะการใช้เหตุผลเชิงจริยธรรม การหยั่งลึกทางสังคม

นอกจากนี้ได้ศึกษาเรื่องพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ ซึ่งเป็นแรงจูงใจและแรงกระตุ้นให้นักศึกษา มีพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการศึกษา ดังนั้นเจตคติและความตั้งใจต่อการศึกษามีบทบาทสำคัญมาก ในอันที่จะช่วยส่งเสริมพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ต่อการศึกษาของนักศึกษา กล่าวคือ ถ้านักศึกษามีเจตคติที่ดีและมีความตั้งใจในการศึกษาทำให้นักศึกษาประสบผลสำเร็จในการศึกษา ซึ่งสอดคล้องกับ ทิตยา สุวรรณชฎ (2520 อ้างถึงใน คำแสง ทะลังสี, 2542) กล่าวว่า เจตคติมีคุณสมบัติเป็นแรงจูงใจอันที่จะทำให้บุคคลประเมินและเลือกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง หรือจะเป็นแนวทางกำหนดพฤติกรรมของบุคคลนั้น จะเห็นได้ว่า การเรียนต่างๆ การเลือกประกอบอาชีพ ทั้งการทำงาน ถ้าบุคคลใดมีเจตคติที่ดีต่อสิ่งนั้น จะสามารถทำให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการได้

ดังนั้นพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษาเป็นตัวแปรสำคัญมาก เป็นสิ่งที่ช่วยผลักดันให้นักศึกษามีความมานะพยายาม มีความอดทนที่จะเอาชนะต่ออุปสรรค เพื่อบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ และพยายามทำสิ่งต่างๆ เหมาะสมต่อการศึกษาในมหาวิทยาลัย เพราะฉะนั้นผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาพฤติกรรมใฝ่สัมฤทธิ์ของนักศึกษา

3 พ.ค. 2555

เทคนิคการอ่านหนังสือสอบภายใน 1 เดือน

ไปเจอบทความจาก เย็นตาโฟ.com มา เห็นว่ามีประโยชน์เลยเอามาใส่ใน Blog ให้เพื่อนๆได้อ่านกัน
ใครที่อ่านไม่ทันลองใช้เทคนิคนี้ก็ได้นะ เผื่อจะช่วยเพื่อนๆได้บ้างไม่มากก็น้อย ลองไปดูเทคนิคกันเลย



1.ต้องเลิกเที่ยว เลิกดื่ม เลิกสร้างบรรยากาศที่ไม่ใช่การเตรียมสอบ เลิก chat ตอนดึกๆ เลิกเม้าท์โทรศัพท์นานๆ ตัดทุกอย่างออกไป ปลีกวิเวกได้เลย ต้องทำให้ได้ ถ้าไม่ได้อย่าคิดเลยว่าจะสอบติด ฝันไปเถอะ

2.ตัดสินใจให้เด็ดขาด ว่าต่อไปนี้จะทำเพื่ออนาคตตัวเอง บอกเพื่อน บอกพ่อแม่ บอกทุกคนว่า อย่ารบกวน ขอเวลาส่วนตัว จะเปลี่ยนชีวิต จะกำหนดชีวิตตัวเอง จะกำหนดอนาคตตัวเอง เพราะเราต้องการมีอนาคตที่กำหนดได้ด้วยตัวเอง ใช่หรือไม่

3.สร้างเป้าหมายในชีวิต ถ้าทำ 2 ข้อไม่ได้ อย่าทำข้อนี้ เพราะข้อนี้คือ ให้เขียนอนาคตตัวเองไว้เลยว่า จะเรียนต่อคณะอะไร จบแล้วจะเป็นอะไร เช่น จะเรียนพยาบาล ก็เขียนป้ายตัวใหญ่ๆ ติดไว้ข้างห้อง มองเห็นตลอดเลยว่า “เราจะเป็นพยาบาล” จะเรียนแพทย์ก็ต้องเขียนไว้เลยว่า “ปีหน้าจะไปเหยียบแผ่นดินแพทย์ศิริราช-จุฬา” อะไรทำนองนี้ เพื่อสร้างเป้าหมายให้ชัดเจน

4.เตรียมตัว สรรหาหนังสือ หาอาจารย์ติว หาเพื่อนคนเก่งๆ บอกกับเค้าว่าช่วยเป็นกำลังใจให้เราหน่อย ช่วยเหลือเราหน่อย หาหนังสือมาให้ครบทุกเนื้อหาที่จะต้องสอบ เตรียมห้องอ่านหนังสือ โต๊ะ เก้าอี้ โคมไฟ ให้พร้อม

5.เริ่มลงมืออ่านหนังสือ เริ่มจากวิชาที่ชอบ เรื่องที่ถนัดก่อน ทำข้อสอบไปด้วย ทำแบบฝึกหัดจากง่ายไปยาก ค่อยๆ ทำ ถ้าท้อก็ให้ลืมตาดูป้าย ดูรูปอนาคตของตัวเอง ต้องลงมืออ่านอย่างจริงจัง อย่างน้อยวันละ 10 ชั่วโมง แล้วจะทำได้ไง วิธีการคือ อ่านทุกเมื่อที่มีโอกาส อ่านทุกครั้งที่มีโอกาส หนังสือต้องติดตัวตลอดเวลา ว่างเมื่อไรหยิบมาอ่านได้ทันที อย่าปล่อยให้ว่างจนไม่รู้จะทำอะไร ที่สำคัญอ่านแล้วต้องมีโน้ตเสมอ ห้ามนอนอ่าน ห้ามกินขนม ห้ามฟังเพลง ห้ามดูทีวี ห้ามดูละคร ดูหนัง อ่านอย่างเดียว ทำอย่างจริงจัง

6.สร้างกำลังใจให้ตัวเอง ข้อนี้สำคัญมาก หากท้อให้มองภาพอนาคตของตัวเองไว้เสมอ ย้ำกับตัวเองว่า “เราต้องกำหนดอนาคตของตัวเอง ไม่มีใคร กำหนดให้เรา เราต้องทำได้ เพราะไม่มีอะไรที่เป็นไปไม่ได้” ให้กำลังใจกับตัวเองอยู่เสมอ บอกกับตัวเองอย่างนี้ทุกวัน หากท้อ ขอให้นึกว่า อย่างน้อยก็มีผู้เขียนบทความนี้เป็นกำลังใจให้น้องๆ เสมอ นึกถึงภาพวันที่เรารับปริญญา วันที่เราและครอบครัวจะมีความสุข วันที่คุณพ่อคุณแม่จะดีใจที่สุดในชีวิต ต่อไปนี้ต้องทำเพื่อท่านบ้าง อย่าเห็นแก่ตัว อย่าขี้เกียจ อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง เลิกนิสัยเดิมๆ เสียที

ขอบคุณบทความจาก
http://webboard.yenta4.com/topic/211543

หวังว่าเพื่อนๆจะนำไปใช้ประโยชน์กันได้จ้า

แนวข้อสอบบรรจุข้าราชการมองทางขวามือได้เลยนะ
ถ้าเพื่อนๆเห็นว่า Blog นี้มีประโยชน์
กด like ให้ด้วยจ้า

http://www.facebook.com/korsorbdee

11 มี.ค. 2555

10 เคล็ดลับ จำง่าย การอ่านหนังสือสอบ

เคล็ดลับการอ่านหนังสือง่ายๆจ้า สำหรับเพื่อนๆที่จะสอบข้าราชการหรือสอบอื่นๆ ไปเจอจากเว็ปyenta4.com มาลยเอามาแบ่งให้เพื่อนๆได้ดูกันนะ

1. ปิด ทีวี คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต mp3 มีสติอยู่กับหนังสือ

2. นั่งสมาธิสัก 5 นาที
3. อ่านหนึ่งรอบ แล้วสรุป โดยไม่เปิดหนังสือ
4. เช็คคำตอบ

5. อ่านอีกหนึ่งรอบ
6. สรุปใหม่ เปิดหนังสือได้เอาไว้อ่าน
7. ถ้าทำเป็น Mind Mapping จะอ่านง่ายขึ้น
8. มีเอกสารอะไรที่ครูแจก อย่าคิดว่าไม่สำคัญ

9. ท่องในส่วนที่ครูพูดย้ำบ่อยๆ อย่างน้อย 2 ครั้ง/คาบ
10. ก่อนวันสอบ ห้ามหักโหมอ่านหนังสือถึงเที่ยงคืน เพราะสมองจะไม่รับรู้อะไรทั้งสิ้น

หรือดูได้อีกมากที่นี่เลย
http://webboard.yenta4.com/topic/211546

2 มี.ค. 2555

เทคนิคพิชิตคะแนนสอบ IELTS แบบมืออาชีพ

ในวันนี้เรามี 5 เทคนิคที่มีความสำคัญซึ่งมันอาจจะช่วยเพิ่มคะแนนสอบของคุณให้ดีขึ้นได้ถึง 10 เปอร์เซนต์ ซึ่งคุณสามารถนำเคล็ดลับเหล่านี้ไปปรับใช้กับการสอบภาษาอังกฤษในโรงเรียนไปจนถึงการสอบวัดระดับภาษาอังกฤษสากลอย่าง IELTS ด้วย สำหรับ 5 เคล็ดลับมีดังนี้

เตรียมตัวสอบให้พร้อม

ช่วงเตรียมตัวสอบ คุณควรอ่านหนังสือให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ไม่สำคัญว่าจะเป็นเรื่องอะไรขอให้เป็นภาษาอังกฤษก็พอ แต่จะดีกว่าถ้าคุณอ่านเรื่องที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่คุณต้องเขียน อ่านด้วยความสนุกและทำความเข้าใจกับโครงสร้างของประโยคที่อ่าน หากมีเวลาคุณอาจสมัครเรียนหลักสูตรเตรียมสอบ IELTSและขอคำปรึกษาจากอาจารย์ผู้สอนถึงผลสอบที่คุณต้องการ แต่ถ้าไม่สามารถเรียนได้ลองซื้อคู่มือเตรียมสอบ IELTS มาฝึกฝนให้คุ้นเคย คุณควรรู้ว่าหมวดข้อสอบใดที่คุณต้องเตรียมตัว สำหรับหมวดการอ่านและการเขียนไม่ว่าจะเป็นด้านความรู้ทางวิชาการหรือการฝึกฝนทั่วไปในวันสอบจริงคุณต้องแน่ใจว่าคุณทำข้อสอบในหมวดได้ถูกต้อง นอกจากนี้ยังมีอีก 2 ปัจจัยที่ช่วยเตรียมสอบให้ได้คะแนนดีนั่นคือการวางแผนและการตรวจทาน การวางแผน หมายถึง การทำข้อสอบตรงตามโจทย์หรือตรงตามคำสั่งไม่ผิดไปจากที่กำหนดส่วนการตรวจทานก็คือ การ หลีกเลี่ยงข้อผิดพลาด ในคำตอบของคุณทั้งสองข้อนี้คุณสามารถนำไปปรับใช้ได้ในทุกสถานการณ์

ดึงเทคนิคมาใช้เวลาสอบ

เวลาทำข้อสอบเทคนิคในการสอบมีความสำคัญพอๆกับการเข้าใจข้อสอบคุณสามารถเพิ่มคะแนนสอบได้ถึง 10 เปอร์เซ็นต์หากรู้จักปรับใช้เทคนิคในเวลาทำข้อสอบของคุณ วิธีง่ายๆคือ ลองถามตัวเองเพื่อสำรวจจุดอ่อน ดูว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นประจำคืออะไรถึงจุดนี้คุณควรรู้ว่ามีอะไรบ้าง ที่สำคัญคุณต้องอ่านคำตอบอย่างรอบคอบและมีสติเป็นพิเศษในการตรวจสอบข้อผิดพลาดที่มักเกิดขึ้น แล้วคุณจะพบจุดผิดพลาดเล็กๆน้อยๆอีกหลายจุด

รู้จักบริหารและวางแผน

เมื่อคุณเขียนภาษาต่างประเทศคุณต้องมีการวางแผนเพิ่มขึ้น การวางแผนที่ดีจะมีความสำคัญเป็นพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาทำข้อสอบที่เป็นวิชาการจะดีมากและดีกว่าหากคุณอ่าน อ่าน และอ่านซ้ำโจทย์ของคุณอย่างละเอียด รวบรวมความคิด วางแผนการเขียนแต่ละย่อหน้า หลังจากนั้นจึงเขียนคำตอบสุดท้ายและพยายามใช้วลีที่คุณเตรียมมา อย่าลืมว่าการบริหารเวลาเป็นสิ่งสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสอบข้อเขียน IELTS

On structuring…วางโครงสร้างภาษาให้ถูกต้อง

แม้ว่าเราจะมีความรู้และใช้ภาษาอังกฤษได้ดีก็ตาม ความผิดพลาดที่เกิดขึ้นบ่อยที่สุดเมื่อเราเขียนเรียงความเวลาสอบคือ การใช้ความเข้าใจที่มีอยู่ก่อนแล้วเกี่ยวกับการเขียนเรียงความตามพื้นฐานความรู้ที่เคยเรียนมา จากประเทศบ้านเกิด เรียงความภาษาไทยแตกต่างจากภาษาอังกฤษ วิธีเขียนและการรวบรวมความคิดก็จะ แตกต่างกันในบางส่วน สิ่งสำคัญที่สุดที่คุณควรรู้คือ การเขียนเรียงความภาษาอังกฤษนั้นจะบอกอย่าง ตรงไปตรงมา ไม่วกวน ไม่เกริ่นมากนัก คุณควรใช้เวลาในการพิจารณาคำถาม คิดอย่างมีสติว่ามันสัมพันธ์กับ รูปแบบการเขียนที่คุณได้ฝึกฝนมาอย่างไร ไม่ว่าจะเป็นการเขียนเรียงความ จดหมาย รายงาน ฯลฯ คุณควรร่างคำตอบของคุณในความคิดหรือบนกระดาษก่อนเริ่มต้นเขียน อย่าลืมตอบคำถามทุกข้อโดยบรรยายถึงมุมมองของคุณตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นซึ่งจะช่วยให้ ผู้ตรวจข้อสอบได้เข้าใจถึงสิ่งที่คุณต้องการจะสื่อออกมา หลังจากนั้นจึงรวบยอดความคิดอีกครั้งและปิดท้ายด้วยข้อสรุปยกตัวอย่างที่เป็นรูปธรรมจะง่ายกว่าการพยายามอธิบายความคิดในลักษณะนามธรรม

คำแนะนำสุดท้าย

ไม่ควรตอบคำถามด้วยความคิดที่ซับซ้อนเพราะเราจะสับสนเองวิธีการที่ดีที่สุดในการพัฒนาความรู้ภาษาอังกฤษของคุณคือ การฝึกคิดเป็นภาษาอังกฤษ ท่องจำคำศัพท์ภาษาอังกฤษวันละห้าคำและลองฝึกแต่งประโยคด้วยคำศัพท์เหล่านั้นเป็นประจำ

แม้เราจะทราบเคล็ดลับทำคะแนนดีๆแล้วก็ตาม ความตั้งใจและมุ่งมั่นฝึกฝนอย่างจริงจังสร้างความคุ้นเคยกับ การฟัง พูด อ่านและเขียนภาษาอังกฤษอยู่เสมอ ยังจำเป็นอย่างยิ่งที่จะช่วยทำให้เราได้คะแนนสอบตามที่หวังไว้

ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการสอบ IELTS

IELTS ( International English Language Test System ) การทดสอบภาษาอังกฤษระดับนานาชาติ ได้รับการออกแบบเพื่อใช้ประเมินความสามารถด้านภาษาอย่างมีประสิทธิภาพใน4ทักษะได้แก่ การฟัง การอ่าน การเขียนและการพูดรวมถึงความรู้ทางด้านไวยากรณ์และคำศัพท์ในการใช้ภาษาของผู้สมัครสอบที่ต้องการเรียนหรือทำงานในสถานที่ที่ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร IELTS เป็นตัวสอบที่ร่วมมือกันระหว่าง The University of Cambridge ESOL Examinations ( Cambridge ESOL ) บริติช เคานซิล และ IDP : IELTS Australia คุณสามารถลงทะเบียนสอบ IELTS ได้ที่ บริติช เคานซิล สยามสแควร์โทรศัพท์ 02-6575678 บริติช เคานซิล ปิ่นเกล้าโทรศัพท์ 02-8849944-6 ต่อ 101,102 บริติช เคานซิล ลาดพร้าวโทรศัพท์ 02-9371037-9 ต่อ 0 บริติช เคานซิล เชียงใหม่โทรศัพท์ 05-3242103

ในการลงทะเบียนสอบ IELTS ผู้สมัครสอบต้องใช้หลักฐานดังต่อไปนี้

1. ใบสมัครสอบ IELTS

2. คู่มือลงทะเบียน

3. หนังสือเดินทางหรือบัตรประจำตัวประชาชนตัวจริง พร้อมสำเนา

4. รูปถ่ายขนาด 2 นิ้ว 2 รูป ซึ่งถ่ายภายในระยะเวลาไม่เกิน 6 เดือน

5. ค่าสอบ (กรุณาตรวจค่าสอบปัจจุบันกับทางศูนย์)

หมายเหตุ : ผู้พิการสามารถยื่นเรื่องขอจัดสอบเป็นกรณีพิเศษได้กับเจ้าหน้าที่จัดสอบโดยตรง

ที่มา นิตยสารการศึกษาวันนี้ ฉบับวันที่ 28 สิงหาคม – 11 กันยายน 2551

13 ก.พ. 2555

คุณสมบัติเจ้าหน้าที่ธุรการ

ภาระงานและตำแหน่งของเจ้าหน้าที่ธุรการจ้า เผื่อเพื่อนๆกำลังหาอยู่หรือสงสัยว่า ตำแหน่งธุรการเขาทำอะไรบ้าง
ไปเจอมาจากเว็ปไซต์ http://www.tu.ac.th/ ขออนุญาตเผยแพร่ค่ะ

ลักษณะงานทั่วไปของเจ้าหน้าที่ธุรการ


สายงานนี้คลุมถึงตำแหน่งต่าง ๆ ที่ปฏิบัติงานธุรการ งานสารบรรณ และหรืองาน พิมพ์ดีด ซึ่งมีลักษณะงานที่ปฏิบัติเกี่ยวกับการรับ ส่ง ลงทะเบียนหนังสือ เก็บและค้นหาหนังสือ รวบรวมข้อมูล ร่างโต้ตอบ บันทึก ย่อเรื่อง ตรวจทานหนังสือ การพิมพ์หนังสือด้วยเครื่องพิมพ์ดีด การทำสำเนาหนังสือเอกสารต่าง ๆ ด้วยเครื่องอัดสำเนาหรือเครื่องถ่ายเอกสาร ดูแลรักษา และเบิกจ่ายพัสดุ ครุภัณฑ์ ดูแลรักษา จัดเตรียม และให้บริการเรื่องสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ช่วยติดต่อและอำนวย ความสะดวกต่าง ๆ และปฏิบัติหน้าที่อื่นที่เกี่ยวข้อง

ชื่อและระดับของตำแหน่ง
ตำแหน่งในสายงานนี้มีชื่อและระดับของตำแหน่งดังนี้ คือ

เจ้าหน้าที่ธุรการ 1 ระดับ 1
เจ้าหน้าที่ธุรการ 2 ระดับ 2
เจ้าหน้าที่ธุรการ 3 ระดับ 3
เจ้าหน้าที่ธุรการ 4 ระดับ 4
เจ้าหน้าที่ธุรการ 5 ระดับ 5

หมายเหตุ: ก.ม.กำหนดครั้งที่ 1 วันที่ 1 เมษายน 2521
แก้ไขเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2536

เมื่อเพื่อนๆรู้กันแล้วก็มารถ Download แนวข้อสอบสายงานธุรการได้จากทางขวามือเลยนะ

28 ธ.ค. 2554

วันหยุดราชการ ประจำปี 2555

วันหยุดราชการ ปี 2555 จ้า เพื่อนๆมีไว้ไม่เสียหลาย เพราะ สามารถ คำนวณล่วงหน้าได้เลยว่า วันนี้จะไปไหน วันนี้จะเที่ยว ไปสอบ ไปช็อปปิ๊ง สามารถเตรียมการได้ล่วงหน้าเลยค่ะ














วันหยุดราชการ 2555 เดือนมกราคม มี 4 วัน
วันขึ้นปีใหม่                        1 ม.ค. 2555    อาทิตย์
หยุดชดเชยวันขึ้นปีใหม่      2 ม.ค. 2555    จันทร์
รัฐบาลหยุดให้                    3 ม.ค. 2555    อังคาร
วันตรุษจีน                        23 ม.ค. 2555    จันทร์

วันหยุดราชการ 2555 เดือน กุมภาพันธ์ ไม่มีวันหยุด

วันหยุดราชการ 2555 เดือน มีนาคม มี 1 วัน
วันมาฆบูชา                        7 มี.ค. 2555    พุธ

วันหยุดราชการ 2555 เดือน เมษายน มี 4 วัน
วันสงกรานต์                     13 เม.ย. 2555  ศุกร์
วันสงกรานต์                     14 เม.ย. 2555  เสาร์
วันสงกรานต์                     15 เม.ย. 2555  อาทิตย์
วันหยุดชดเชย                  16 เม.ย. 2555  จันทร์

วันหยุดราชการ 2555 เดือน พฤษภาคม มี 2 วัน
วันฉัตรมงคล                      5 พ.ค. 2555  เสาร์
หยุดชดเชยวันฉัตรมงคล    7 พ.ค. 2555  จันทร์

วันหยุดราชการ 2555 เดือน มิถุนายน มี 1 วัน
วันวิสาขบูชา                      4 มิ.ย. 2555  จันทร์

วันหยุดราชการ 2555 เดือน กรกฏาคม ไม่มีวันหยุด

 
วันหยุดราชการ 2555 เดือน สิงหาคม มีวันหยุด 4 วัน
วันอาสาฬหบูชา                   2 ส.ค. 2555 พฤหัสบดี      
วันเข้าพรรษา                       3 ส.ค. 2555 ศุกร์          
วันแม่แห่งชาติ                   12 ส.ค.2555  อาทิตย์
หยุดชดเชยวันแม่แห่งชาติ 13 ส.ค. 2555 จันทร์

วันหยุดราชการ 2555 เดือน กันยายน ไม่มีวันหยุด

วันหยุดราชการ 2555 เดือน ตุลาคม มีวันหยุด 1 วัน
วันปิยมหาราช                   23 ต.ค. 2555  อังคาร

วันหยุดราชการ 2555 เดือน พฤศจิกายน ไม่มีวันหยุด

วันหยุดราชการ 2555 เดือน ธันวาคม มีวันหยุด 3 วัน
วันพ่อแห่งชาติ                    5 ธ.ค. 2555  พุธ
วันรัฐธรรมนูญ                   10 ธ.ค. 2555  จันทร์
วันสิ้นปี                             31 ธ.ค. 2555  จันทร์

สวัสดีปีใหม่ ปี 2555 ค่ะ ขอให้เพื่อนๆมีความสุขกันทุกคนจ้า

5 ธ.ค. 2554

เริ่มเตรียมตัวสอบราชการอย่างไร ?

เข้าไปหาคู่มือของชีตรามเลยไปเจอบทความอันนึงให้แง่คิดที่มากเกี่ยวกับการเตรียมตัวสอบราชการเอามาให้เพื่อนๆได้อ่านดูค่ะ เห็นว่ามีประโยชน์ อาจจะยาวสักหน่อยแต่รับรองเพื่อนๆจะได้แง่คิดค่ะ

1. ความสำคัญในการสอบราชการ
- ในการสอบเข้ารับราชการทุกสังกัดทั้ง ก.พ. ครูสังกัด ก.ค., สพฐ. ข้าราชการสังกัด กทม. อบต. เทศบาลมีการแข่งขันกันในอัตราที่สูงมาก ทั้งนี้เพราะว่ามีผู้ต้องการเป็นข้าราชการเป็นจำนวนมากและจำนวนอัตราที่บรรจุมีน้อย ประกอบกับมีผู้สำเร็จการศึกษาใหม่ในแต่ละปี มีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ การแข่งขันจึงนับวันจะรุนแรงขึ้นเรื่อย ๆ

ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะสอบแข่งขันเข้ารับราชการในสังกัดต่าง ๆ จะต้องเตรียมตัวในการสอบให้พร้อม

ปัจจัยที่สำคัญอันหนึ่งก็คือ การมีหนังสือที่ช่วยในการสอบแข่งขันกับคนอื่น ๆ ได้ ปัญหาที่สำคัญอันหนึ่งที่ผู้เขียนทราบก็คือ การขาดหนังสือที่ตรงกับหลักสูตรและเนื้อหาที่อธิบายวิชาการทำอย่างละเอียดเหมาะสมกับผู้อ่าน ซึ่งส่วนใหญ่มีพื้นฐานทางคณิตศาสตร์น้อย ภาคความสามารถในการศึกษาวิเคราะห์และสรุปเหตุผล

2. ขั้นตอนการสอบแข่งขันเข้ารับราชการ


- ขั้นตอนในการสอบแข่งขันเข้ารับราชการในสังกัด ก.พ. ครูสังกัด ก.ค. ข้าราชการสังกัด กทม. และเทศบาล จะมีการสอบ 3 ภาค คือ

ภาค ก. ความรู้ความสามารถทั่วไป เป็นข้อสอบ ปรนัย 100 ข้อ 200 คะแนน แบ่งออกเป็น
1) วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล เป็นข้อสอบ ปรนัย 50 ข้อ รวม 100 คะแนน
2) วิชาภาษาไทย เป็นข้อสอบปรนัย 50 ข้อ รวม 100 คะแนน

ในส่วนของภาค ก.ความรู้ความสามารถทั่วไป โดยส่วนมากจะตัดผ่านที่ 60 % ของคะแนนรวม (และไม่นำมาคิดคะแนนรวมกับภาค ข. ) คือสรุปคะแนนผ่าน 60% ของคะแนนรวมก็จะตรวจข้อสอบ ภาค ข. ต่อไป ถ้า้่ไม่ผ่าน 60 % ของคะแนนรวม ก็ถือว่าสอบตก

ภาค ข. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง (วิชาชีพ) รวม 200 คะแนน

- ข้อสอบในส่วนนี้ อาจจะเป็นปรนัยทั้งหมด หรือ ปรนัยผสมอัตนัย ก็ได้ แต่โดยส่วนมากเกิน 80 %ของทุกหน่วยงานจะเป็นปรนัย ( มีตัวเลือก ก ข ค ง)

ในการสอบ ภาค ข. จะมีประกาศออกมาเมื่อเปิดรับสมัครสอบว่าจะสอบในหัวข้อใดบ้าง

โดยส่วนใหญ่ จะเป็น พรบ.(กฏหมาย) ที่ต้องรู้และข้อปฎิบัติในหน่วยงานที่จัดสอบ และความรู้เฉพาะตำแหน่ง เช่น นักพัฒนาชุมชน ก็ต้องมีความรู้เกี่ยวกับพัฒนาชุมชน เป็นต้น

ภาค ค. ภาคความเหมาะสมกับตำแหน่ง รวม 100 คะแนน

ในส่วนนี้จะคัดมาจากผู้ที่สอบได้คะแนนในภาค ก. และ ข. ตามเกณฑ์ที่กำหนดในการสอบจะดู บุคลิกภาพ และสัมภาษณ์ พร้อมกับดูผลการเรียน จากประวัติการเรียนในบางตำแหน่งอาจจะมีการสอบอย่างอื่นด้วย เช่น ในตำแหน่งปลัดอำเภอและผู้ช่วยนายทะเบียน จะมีการสอบให้ผู้สมัครพูดในหัวข้อสั้น ๆ ที่ได้เตรียมเอาไว้ให้ และมีการสอบวิ่งในระยะทางที่กำหนดในเวลาที่กำหนดให้ ซึ่งผู้สมัครจะต้องศึกษาจากหลักสูตรในการสอบในแต่ละครั้ง ไป ซึ่งในที่นี้พูดเฉพาะวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปเท่านั้น

โดยสรุป การสอบได้ลำดับที่ 1 2 3 ... ไล่ลงมาเรื่อย อยู่ที่คะแนน ภาค ข.+ ภาค ค.ใครจะได้คะแนนมากกว่ากัน .. ครับ

3. การสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ตามหลักสูตรของ ก.พ. วิชาความสามารถทั่วไปของ ก.พ. ถือว่าเป็นวิชาที่ยากที่สุด


- วิชาความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. ถือว่าเป็นวิชาที่ยากทีสุด ยากกว่าข้อสอบของ ก.ค., กทม., และเทศบาล ดูจาอัตราผู้ที่สอบผ่านวิชานี้มีเพียง 10 - 20% ของผู้ที่สอบทั้งหมด ข้อสอบของ ก.พ. มีทั้งส่วนที่ง่าย ปานกลาง และยาก ที่สำคัญก็คือผู้เข้าสอบจะไม่สามารถทำข้อสอบได้ทั้งหมดในเวลาที่กำหนดให้ ผู้สอบจึงจำเป็นต้องศึกษาว่าข้อสอบชนิดใดง่ายหรือปานกลาง หรือยาก และมีจำนวนข้อสอบเท่าใดและตนเองถนัดในเรื่องใดที่จะต้องเลือกทำก่อนเรื่องอื่น อย่าใช้วิธีทำจากข้อ 1 ไล่ไปเรื่อย ๆ เหมือนกับที่เคยทำข้อสอบสมัยเรียนในระดับมัธยมหรืออุดมศึกษา ซึ่งจะใช้ไม่ได้กับการทำข้อสอบของ ก.พ. แต่จะต้องเลือกทำจากข้อสอบที่ง่ายและถนัดก่อน ตามด้วยข้อสอบ ยากปานกลาง ส่วนข้อสอบยากไว้ทำภายหลัง

องค์ประกอบของข้อสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปของ ก.พ. จะแบ่งเนื้อหาออกเป็น 2 วิชา คือ วิชาความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์และสรุปผล กับวิชาภาษาไทย
ดังมีรายละเอียดดังนี้

- วิชาความรู้ความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปผล ซึ่งตามหลักสูตรของ ก.พ. ได้กำหนดเนื้อหาของวิชาไว้ดังนี้

ทดสอบความรู้ความสามารถในการศึกษา การวิเคราะห์และสรุปผล โดยให้วิเคราะห์จับประเด็นจากข้อมูล เหตุการณ์หรือเหตุผลทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม

การหาแนวโน้มหรือการเปลี่ยนแปลงที่น่าจะเป็นไปตามข้อมูล หรือสมมุติฐาน การคิดวิเคราะห์แล้วสรุปความเป็นอุปมา อุปไมย โดยอาศัยความรู้ทั่วไป และคิดหาเหตุผลด้วยตัวเลข"

เนื้อหาของข้อสอบ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ความสามารถทางด้านตัวเลข ด้านความมีเหตุผล และด้านภาษา แต่ละกลุ่มมีจำนวนข้อสอบโดยประมาณและความยากง่ายดังนี้
1. ความสามารถด้านตัวเลข แบ่งเป็น
1.1 คณิตศาสตร์ทั่วไป จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5 ข้อ - ยาก
1.2 อนุกรม จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5 ข้อ - ยาก
1.3 การวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5 ข้อ - ปานกลาง

2. ความสามารถด้านความีเหตุผล แบ่งเป็น
2.1 อุปมาอุปไมย จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5-10 ข้อ - ปานกลาง
2.2 การสรุปความจากเงื่อนไขทางภาษา จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 10 ข้อ - ยากมาก
2.3 การสรุปความจากสัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 10 ข้อ - ยากมาก
2.4 ความสัมพันธ์จากรูปภาพ (มิติสัมพันธ์) (ระดับ 3 มักไม่ค่อยออก) จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 0-5 ข้อ - ปานกลาง

3. ความสามารถทางด้านภาษา (ความเข้าใจภาษา) จำนวนข้อสอบโดยประมาณ 5 ข้อ - ปานกลาง

- จะเห็นได้ว่าข้อสอบประเภทนี้ ใช้ความรู้ทางคณิตศาสตร์และตัวเลขที่ 20 - 25 ข้อ จึงนับว่าเป็นอุปสรรคสำคัญสำหรับผู้ที่อ่อนคณิตศาสตร์ หรือทิ้งคณิตศาสตร์มานาน ผู้เรียนจะต้องทำความเข้าใจหลักทฤษฎีหรือมีความรู้พื้นฐาน และหมั่นทำแบบฝึกหัดและข้อสอบเก่า ๆ ให้เกิดความชำนาญให้มาก

- ส่วนที่จะต้องให้ความสำคัญค่อนข้างมากคือคณิตศาสตร์ทั่วไป แม้ว่าคณิตศาสตร์ทั่วไปจะมีข้อสอบที่ถามโดยตรงเพียง 5 ข้อ แต่ความรู้คณิตศาสตร์ทั่วไปจะช่วยในการทำข้อสอบหัวข้ออื่น ๆ ในเรื่องของอนุกรม การวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง การสรุปความจากเงื่อนไขทางภาษา (บางส่วน) และการสรุปความจากสัญลักษณ์คณิตศาสตร์

ซึ่งมีข้อสอบประมาณ 20-25 ข้อ ผู้ที่อ่อนคณิตศาสตร์ก็ควรจะทำคะแนนเหล่านี้ไว้บ้าง ไม่ใช่ปล่อยทิ้งไปเลย ซึ่งจะเป็นการยากที่จะคะแนนส่วนอื่น ๆ ให้ได้ถึง 50 ข้อ

- หนังสือที่ควรจะอ่านเพิ่มเติมในด้านความสามารถด้านตัวเลข

1. หนังสือความรู้ความสามารถทั่วไป ตามหลักสูตร ก.พ.
2. คณิตศาสตร์ชั้น ม.1-3 ดูในเรื่องการคำนวณขั้นพื้นฐาน ซึ่งสำคัญมาก
3. คณิตศาสตร์ชั้น ม.4-6 ดูในเรื่องสถิติเบื้องต้น, ตรรก, สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์, ระบบจำนวนและเซท
4. คณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรี ดูในเรื่องดังข้อ 3 ข้างต้น

- ข้อสอบ ก.พ. นั้นออกข้อสอบในความรู้ในระดับ ม.1-6 ดังนั้น ถ้าจะดูคณิตศาสตร์ระดับปริญญาตรีให้เข้าใจว่า เนื้อหาจะสูงกว่าที่ออกข้อสอบ แต่ถ้าหากอ่านในระดับปริญญาตรีจะทำให้ได้เปรียบกว่า แต่ถ้าหากไม่มีเวลาก็ไม่จำเป็น

- วิชาภาษาไทย 50 ข้อ 100 คะแนน แบ่งออกเป็นข้อสอบ ประเภทต่าง ๆ โดยประมาณ ดังนี้

1. ศัพท์
1.1 การเขียนตัวสะกด จำนวนข้อสอบ 0-5 ข้อ - ยาก
1.2 ความหมายของคำและกลุ่มคำ จำนวนข้อสอบ 10 ข้อ - ปานกลาง

2. ความเข้าใจภาษา จำนวนข้อสอบ 25 ข้อ - ยาก
2.1 ข้อความ (ทั้งร้อยกรองและร้อยแก้ว)
2.2 บทความ

3. การเขียน
3.1 การเลือกใช้คำหรือกลุ่มคำ จำนวนข้อสอบ 5 ข้อ - ปานกลาง
3.2 การเขียนประโยคได้ถูกต้องตามหลักภาษา จำนวนข้อสอบ 5 ข้อ - ปานกลาง
3.3 การเรียงความ จำนวนข้อสอบ 5 ข้อ - ปานกลาง

- จะเห็นได้ว่า ภาษาไทยตามหลักสูตรของ ก.พ. ส่วนใหญ่จะเน้นความเข้าใจภาษา และการเขียนเป็นหลัก ส่วนการเขียนตัวสะกดจะมี หรือไม่มีก็ได้ (แต่ควรจะดูไว้บ้างเผื่อว่าจะออกมา) ผู้สอบจะต้องอ่านความรู้พื้นฐานของภาษาไทย และหมั่นทำแบบฝึกหัดมาก ๆ เช่นเดียวกัน

- หนังสือที่ควรอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับภาษาไทย คือ

1. หนังสือความรู้ความสามารถทั่วไป ตามหลัดสูตร ก.พ.
2 . หลักภาษาไทย (TH101) ของ ม.รามคำแหง ดูเฉพาะเรื่องการใช้ภาษามากกว่า จะดูเรื่องไวยากรณ์
3 . การเตรียมตัวเพื่อการพูดและเขียน (TH 103) ของ ม.รามคำแหง
4 . การใช้ภาษาไทย ตำรางของมหาวิทยาลัย เช่น ของ มสธ.
5 . การใช้ภาษาไทย ระดับ ม.1-6

สำหรับผู้ที่อ่อนคณิตศาสตร์จำนวนไม่น้อยสามารถสอบวิชา ก.พ. ผ่านได้ โดยให้มามุ่งทำข้อสอบภาษาไทยให้ได้คะแนนดี ๆ เพราะดังที่ได้เรียนให้ทราบแล้วว่า

ส่วนใหญ่ไม่สามารถทำข้อสอบได้หมดทุกข้อ มักจะทำไม่ทันเวลา จะต้องข้าม หรือใช้วิธีเดาในการทำข้อสอบ ดังนั้นผู้ที่อ่อนคณิตศาสตร์ไม่ควรท้อถอยหรือหมดกำลังใจ

4. การสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ตามหลักสูตรของ ก.ค. , สพฐ.


4.1 วิชาความรู้ความสามารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปผล ในข้อสอบของ ก.ค. สพฐ. ที่ผ่านมา ไม่มีข้อสอบแบบการสรุปความจากสัญลักษณ์ จะเน้นหนังที่คณิตศาสตร์

ในแนวการวัดความถนัด (APTITUDE TEST) ซึ่งจะวัดความเข้าใจและความสามารถในเชิงวิเคราะห์มากกว่าความสามารถในการจำ (ซึ่งหมาความว่าไม่เน้นในการจำสูตรต่าง ๆ)ส่วนเนื้อหาในส่วนอื่น ๆ ก็มีข้อสอบพอสมควร เช่น อนุกรม การวิเคราะห์ข้อมูลจากตาราง อุปมาอุปไมย ความสามารถด้านภาษา การสรุปความจากเงื่อนไขทางภาษา

4.2 วิชาภาษาไทย ข้อสอบของ ก.ค. จะมีเนื้อหาที่เกี่ยวกับเขียนตัวสะกด ความหมายของคำและกลุ่มคำ ความรู้ทางด้านหลักภาษาหรือไวยากรณ์ การอ่าน การใช้ราชาศัพท์
การเลือกใช้คำและกลุ่มคำ การเขียนประโยคที่ถูกต้อง ความเข้าใจภาษามาจากการอ่านข้อความและบทความ สรุปว่าหลักสูตรภาษาไทยของ ก.ค. จะต่างไปในขณะที่ข้อสอบ ก.พ. มักจะไม่เรื่องข้างต้น

5. การสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปของ กทม.

5.1 วิชาความรู้ความารถในการศึกษา วิเคราะห์ และสรุปเหตุผล ในข้อสอบของ กทม. จะไม่มีข้อสอบการสรุปความจากสัญลักษณ์ ลักษณะข้อสอบจะเป็นเรื่องต่างๆ

นอกจากนั้น ผู้สมัครสอบควรจะดูเนื้อหาเรื่องคณิตศาสตร์พื้นฐานให้มากหน่อย เพราะจะเป็นพื้นฐานของการทำข้อสอบเรื่องการวิเคราะห์ข้อมูลจากตารางและแผนภูมิด้วย

สำหรับเงื่อนไขภาษาของ กทม. จะมีเนื้อหาที่ไม่ยากและซับซ้อนมากนัก ดังนั้นผู้อ่านอาจจะอ่านในส่วนแรก ๆ เท่านั้น ส่วนที่ยากและซับซ้อนอาจจะอ่านเมื่อมีเวลาเหลือก็ได้

5.2 วิชาภาษาไทย ข้อสอบภาษาไทยของ กทม. มีลักษณะคล้ายกับข้อสอบภาษาไทยของ ก.พ. จะเน้นเรื่องความเข้าใจภาษา คือ การอ่านข้อความและบทความ นอกจากนี้ยัง

มีความหมายของคำและกลุ่มคำ การใช้คำและกลุ่มคำ การเขียนประโยคตามหลักภาษา การเรียงประโยค สิ่งที่ไม่เน้น คือการเขียนประโยค (อาจจะมีหรือไม่ก็ได้)

6. การสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไปของ อบต. เทศบาล อบจ.

- ข้อสอบความสามารถทั่วไปของเทศบาล อบต. จะคล้ายแนวข้อสอบของ ก.พ. (โปรดดูในหัวข้อ) และผู้สอบควรจะศึกษาเกี่ยวกับความรู้ทั่วไป และเหตุการณ์ปัจจุบันเอาไว้ด้วย ซึ่งเคยมีข้อสอบถามในเรื่องดังกล่าวด้วย

7. คำแนะนำในการเตรียมตัวก่อนสอบ

1. ศึกษาหลักสูตรของการสอบและแนวการสอบให้ละเอียด โดยศึกษาจากคู่มือการับสมัครและหนังสือแนะนำในการเตรียมสอบวิชาความรู้ความสามารถทั่วไป ซึ่งจะบอก
ถึงหลักสูตรและเนื้อหาในการสอบโดยละเอียด พร้อมทั้งตัวอย่างข้อสอบ (อย่างง่ายๆ) เอาไว้ หนังสือเล่มดังกล่าวถือว่าเป็นแนวกว้าง ๆ ของเนื้อหาข้อสอบเท่านั้น

2. หากหนังสือหรือตำราที่ดีและตรงกับแนวการสอบไว้อ่านและทำแบบฝึกหัด ตำราในท้องตลาดมีมากมาย ไม่ใช่ว่าจะต้องแนวกับการสอบเสมอไป หรือบางเล่มก็เฉลยผิด ๆจะทำให้ผู้อ่านเข้าใจผิด และสอบตก ควรพยายามสอบถามบุคคลที่เคยสอบมาแล้ว และถามว่าหนังสือเล่มใดที่ตรงและถูกต้องบ้าง อาจจะได้หนังสือที่ถูกต้องไม่ทำให้เราหลงทางและสอบตกในที่สุด

3. ควรหาโอกาสเข้าสอบวิชาความรู้ความสามารถเมื่อมีโอกาสจะทำได้ เพื่อหาประสบการณ์และดูแนนข้อสอบมากขึ้น

4. ควรทำสรุปย่อเนื้อหาของวิชาที่เรียน ทำโน้ตย่อเฉพาะเนื้อหาสำคัญสั้น ๆ ใช้ภาษาของตนเองเพื่อสะดวกในการทบทวน

5. หมั้นทำแบบฝึกหัด การทำแบบฝึกหัดจะช่วยให้เราเข้าใจและจำเนื้อหาได้ดียิ่งขึ้น

6. ควรจับกลุ่มดูหนังสือกับเพื่อน เพื่อจะได้มีกำลังใจในการดูหนังสือ ไม่ว้าเหว่ และเมื่อสงสัยก็สามารถช่วยเหลือกันได้ กลุ่มสำหรับดูหนังสือไม่ควรมากเกินไป หรือน้อยเกินไป คือประมาณ 4-5 คน

7. ให้นึกถึงความสำเร็จทางชีวิต หรือเป้าหมายของชีวิตให้เรามีมานะมากขึ้น โดยพยายามอ่านชีวประวัติบุคคลสำคัญหรือบุคคลที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต จะช่วยให้เรามีมานะมากขึ้น

8. ให้ความสำคัญของการรักษาสุขภาพและสุขภาพจิต ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนและการดูหนังสือได้ผลดี

9. ควรมีแผนการดูหนังสือ เขียนเป็นตารางไว้ แล้วปฏิบัติโดยเคร่งครัด

10. ควรมีสถานที่ดูหนังสือที่เป็นสัดส่วนของตนเอง และเงียบสงบ ซึ่งจะช่วยให้มีสมาธิในการดูหนังสือได้มาก

11. ควรหาคนช่วยสอนในเรื่องที่เราไม่ถนัด เช่น คณิตศาสตร์ เรื่องบางเรื่องถ้าอ่านเองจะเสียงเวลามาก แต่ถ้ามีคนมาอธิบายให้จะเข้าใจง่ายในเวลาอันรวดเร็ว

กาหาสำนักติว ควรจะตรวจสอบดูให้รู้แน่ว่าเชื่อถือได้แค่ไหน โดยเฉพาะอาจารย์ผู้สอนว่ามีความรู้จริงหรือไม่ หรือเป็นแค่มือใหม่ สมัครเล่น

12. ควรอ่านหนังสือหรือเรียนด้วยความสนุก มากกว่าจำใจอ่านหรือเรียนแบบแข็ง ๆ จะทำให้ไม่ได้ผล

13. ทำตัวให้สบายไม่เคร่งเครียด หรือมุ่งหวังมากเกินไป จะทำให้เครียด นอนไม่หลับ สุขภาพจะเสื่อมโทรม ขาดสมาธิ แลมีผลจะทำให้อ่านหนังสือไม่จำหรือไม่เข้าใจ ให้คิดว่าถ้าเราสอบไม่ได้ก็ไม่เป็นไร ทำอาชีพอื่น ๆ ที่น่าสนใจกว่าก็ยังมี จะทำให้ใจสบาย ไม่เครียด ไม่ฟุ้งซ่าน มีสมาธิและกำลังใจดี อ่านหนังสือธรรมะบ้าง ยึดหลักทางสายกลาง หรือมีการฝึกสมาธิจะช่วยให้การเรียนดีขึ้น

8. คำแนะนำสำหรับในวันสอบ
1. ก่อนวันสอบไม่ต้องกังวล นอนให้เพียงพอไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง การนอนให้เพียงพอ จะทำให้สมองปลอดโปร่ง ทำให้สอบได้ดี เพราะข้อสอบของ ก.พ. ต้องการความสามารถในการวิเคราะห์ ไม่ใช่ข้อสอบความจำอย่างเดียว ถ้าสมองไม่ปลอดโปร่ง จะทำข้อสอบไม่ได้ดี

 2. ควรเตรียมอุปกรณ์การสอบให้พร้อม ตั้งแต่ก่อนวันสอบ ทั้งดินสอ ยางลบ ปากกาน้ำเงินและแดง ไม่บรรทัด

3. ไปถึงสนามสอบก่อนเวลาทำการสอบไม่น้อยกว่า 45 นาที เพื่อจะได้ไม่รีบเร่ง และเข้าห้องสอบสายเพราะอาจมีเหตุผลฉุกเฉิน หรือการจราจรติดขัดทำให้ไปถึงสนามสอบไม่ทัน ทำให้เสีบเปรียบคนอื่น ๆ และอาจไม่อนุญาตให้เข้าห้องสอบ ควรไปดูสนามสอบก่อนวันสอบ เพราะสถานที่บางแห่งเราไม่รู้จักจะเสียเวลาหามาก

4. ควรทำข้อสอบในส่วนที่ตนถนัดก่อน ก่อนจะทำข้อสอบให้อ่านดูข้อสอบอย่างคร่าว ๆ ทั้งฉบับก่อน จากนั้นเวลาทำ ส่วนไหนไม่ถนัดและเห็นว่ายากให้ข้ามไปก่อนค่อยกลับมาทำในภายหลัง เพราะข้อสอบทั้ง 2 วิชา แจกพร้อมกันเก็บพร้อมกัน ใช้เวลาทำข้อสอบ 2 ชั่วโมง 30 นาที หรือ 3 ชั่วโมง เช่น ผู้ถนัดในการวิเคราะห์แบบตัวเลข และคณิตศาสตร์ควรจะทำในส่วนที่เป็นตัวเลข และคณิตศาสตร์ก่อน

ส่วนที่ไม่ถนัดตัวเลขและคณิตศาสตร์ให้ทำในส่วนภาษาไทยก่อนเป็นต้น เนื่องจากว่าข้อสอบภาคความรู้ความสามารถทั่วไปมักจะยาก ผู้สอบที่ทำข้อสอบไม่ค่อยได้ ไม่ควรเสียงกำลังใจ เพราะคนอื่น ๆ ก็คงทำไม่ค่อยได้เหมือนกัน แต่จะแข่งขันว่าใครจะทำได้มากกว่ากัน และอีกประการหนึ่งผู้สอบเกือบทั้งหมดมักทำข้อสอบไม่ทัน เพราะข้อสอบจะมากเกินเวลาที่กำหนดไว้ ผู้สอบจึงควรทำส่วนที่ทำได้ก่อน แม้ว่าจะเสียเวลาไปเกินข้อสอล 1.5 นาที (ข้อสอบ 100 ข้อ เวลา 150 นาที เฉลี่ยข้อสอบ 1.5 นาที) ไปบ้าง เพราะถือหลักว่าข้อที่เราทำได้และแน่ใจว่าทำถูกย่อมดีกว่า

แน่นอนกว่าจะไปทำข้ออื่น ๆ ที่เราไม่แน่ใจ แต่ข้อที่เราทำได้กินเลามาก ๆ เช่น 5 นาทีอาจจะต้องกลับมาทำภายหลัง ถ้ามีเวลา

5. การทำข้อสอบปรนัยนั้น บางครั้งอาจจะต้องใช้วิธีเดา ในกรณีเช่นนี้ใด้ตัดข้อที่ผิดอย่างเห็นได้ชัดออกไปจนเหลือข้อที่ไม่แน่ใจสัก 2 ตัวเลือก แล้วจึงเดาระหว่าง 2 ตัวเลือกโดยข้อที่เราแน่ใจมากที่สุดเป็นคำตอบ (แต่โปรดดูว่าการกาจะติดลบหรือไม่ ถ้าติดลบไม่ควรเดา)

- 6. อุปกรณ์ที่จะต้องนำเอาไปด้วย คือ นาฬิกา เพื่อจะได้ดูเวลา พยายามอย่าเสียเวลากับข้อสอบที่ยากมาก และใช้เวลามากเกินไปเพราะจะกินเวลาข้อสอบข้ออื่น ๆ

เมื่อทำข้อสอบไม่ทันจริง ๆ ใน 5 นาที สุดท้ายก็ให้เดาคำตอบของข้อสอบที่เหลือไปได้เลย ยกเว้นในคำสั้งบอกว่า ถ้าทำผิดจะติดลบ ต้องอ่านคำสั้งให้ละเอียดก่อนทำข้อสอบทุกครั้ง

คัดลอกจากหนังสือของ อ.กฤติน วงศ์มหาริมาตรและปรับปรุงเพิ่มโดยทีมงานSheetram.com

Credit อ.กฤติน วงศ์มหาริมาตร
Modify By Fafa

16 พ.ย. 2554

9 เทคนิค ทำให้สมองไบรท์

1. จิบน้ำบ่อย ๆ (Drink water very often) สมองประกอบด้วยน้ำ 85 % เชลล์สมองก็เหมือนต้นไม้ที่ต้องการน้ำหล่อเลี้ยง ถ้าไม่อยากให้เชลล์สมองเหี่ยว ซึ่งส่ง ผลให้การส่งข้อมูลช้า กลายเป็นคนคิดช้าหรือคิดไม่ค่อยออก แต่ละวันจึงควรดื่มน้ำบ่อย ๆ

2. กินไขมันดี (Enjoy good Omega 3)
คนไม่ค่อยรู้ว่าสมองคือก้อนไขมัน ซึ่งจำเป็นต้องมีไขมันดีไปทดแทนส่วนที่สึกหรอ แนะนำให้กินไขมันดีระหว่างวัน จำพวกน้ำมันปลา สารสกัดใบแปะก๊วยปลาที่มีไขมันดีอย่าง ปลาแซลมอน นมถั่วเหลือง วิตามินรวม น้ำมันพริมโรสเป็นน้ำมันดี ที่ทำให้เชลล์ชุ่มน้ำ ส่วนวิตามินซีกินแล้วสดชื่น

3. นั่งสมาธิวันละ 12 นาที (Meditation 12 min a day)
หลังจากตื่นนอนแล้ว ให้ตั้งสติและนั่งสมาธิทุกเช้า วันละ 12 นาที เพื่อให้สมองเข้าสู่ช่วงที่มีคลื่น Theta ซึ่งเป็นคลื่นที่ผ่อนคลายสุดๆ ทำให้สมองมี Mental Imagery สามารถจินตนาการเห็นภาพและมีความคิดสร้างสรรค์ ( ถ้าทำไม่ ได้ตอนเช้า ) ให้หัดทำก่อนนอนทุกวัน

4. ใส่ความตั้งใจ (Program the brain: have specific intention) การตั้งใจในสิ่งใดก็ตาม เหมือนการโปรแกรมสมองว่านี่คือสิ่งที่ต้องเกิด ระหว่างวันสมองจะปรับพฤติกรรมเราให้ไปสู่เป้าหมายนั้น ทำให้ประสบความสำเร็จในสิ่งต่าง ๆ เพราะสมองไม่แยกระหว่างสิ่งที่ทำจริงกับสิ่งที่คิด ขึ้น ทั้งสองอย่างจึงเป็นเสมือนสิ่งเดียวกัน

5. หัวเราะและยิ้มบ่อย ๆ (Laugh and Smile)
ทุกครั้งที่ยิ้มหรือหัวเราะ จะมีสารเอ็นโดรฟินซึ่งเป็นสารแห่งความสุข หลั่งออกมาเท่ากับเป็นการกระตุ้น ให้มีความอยากรักและหวังดีต่อคนอื่นไปเรื่อยๆ

6. เรียนรู้สิ่งใหม่ทุกวัน (Learn new thing everyday)
สิ่งใหม่ในที่นี้หมายถึง สิ่งต่าง ๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน เช่น กินอาหารร้านใหม่ ๆ รู้จักเพื่อนใหม่ อ่านหนังสือเล่มใหม่ คุยกับเพื่อนร่วมงานและเรียนรู้วิธีการทำงานของเขา เป็นต้น เพราะการเรียนรู้สิ่งใหม่ทำให้สมองหลั่งสารเอ็น โดรฟิน และโดปามีน ซึ่งเป็นสารแห่งการเรียนรู้ กระตุ้นให้อยากเรียนรู้และ สร้างสรรค์ ไปเรื่อยๆเมื่อมีความสุขก็ทำให้มีความคิดสร้างสรรค์

7. ให้อภัยตัวเองทุกวัน (Forgive yourself, reduce brain stress) ขณะที่การไม่ให้อภัยตัวเอง โกรธคนอื่น โกรธตัวเอง ทำให้เปลืองพลังงานสมอง การให้อภัยตัวเอง เป็นการลดภาระของสมอง

8. เขียนบันทึก Graceful Journal (Write graceful journal, good things inlife every day)
ฝึกเขียนขอบคุณสิ่งดี ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละวันลงในสมุดบันทึก เช่น ขอบคุณที่มีครอบครัวที่ดี ขอบคุณที่มีสุขภาพที่ดี ขอบคุณที่มีอาชีพที่ทำให้มีความสุข เป็นต้น เพราะการเขียนเรื่องดี ๆ ทำให้สมองคิดเชิงบวก พร้อมกับหลั่งสารเคมีที่ดีออกมา ช่วยให้หลับฝันดี ตื่นมาทำสมาธิได้ง่าย มีความคิดสร้างสรรค์

9. ฝึกหายใจลึก ๆ (Deep breath)
สมองใช้ออกชิเจน 20 25 % ของออกชิเจนที่เข้าสู่ร่างกาย การฝึกหายใจเข้าลึก ๆ จึงเป็นการส่งพลังงานที่ดีไปยังสมอง ควรนั่งหลังตรงเพื่อให้ออกชิเจนเข้าสู่ร่างกายได้มากขึ้น ถ้านั่งทำงานนาน ๆ อาจหาเวลายืนหรือเดินยึดเส้นยืดสายเพื่อให้ปอดขยาย ใหญ่ สามารถหายใจเอาออกชิเจนเข้าปอดได้เพิ่มขึ้นอีก 20 %การมีสมองที่ดีก็เหมือนทักษะทุกอย่างในโลกที่เรียนรู้ได้ แต่จะเก่งหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับการฝึกฝน ถ้าเราดูแลและฝึกฝนสมองให้ดี คุณภาพชีวิตก็จะดีตาม

โดย วนิษา   เรซ ผู้เชี่ยวชาญด้านอัจฉริยภาพจาก .ฮาร์วาร์ด

23 ก.ย. 2554

เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำง่ายๆ

เทคนิคการอ่านหนังสือให้จำง่ายๆด้วยตัวเอง
เผื่อเพื่อนๆที่สนใจและน้องๆที่สนใจจ้า
ไปเจอมาเลยเอามาฝากเพื่อนๆที่กำลังจะอ่านหนังสือหรือแนวข้อสอบราชการ

ข้อที่ 1. น้องๆต้องใส่ใจเรื่องรายละเอียดเล็กๆน้อยๆก่อนเลยล่ะ ดูซิ!!!ว่าวิชาไหนน่ะที่เราต้องสอบเป็นอันดับแรกๆ หยิบวิชานั้นขึ้นมาก่อนเลย เตรียมไว้นะครับ ไม่ว่าจะเป็นหนังสือที่เกี่ยวกับวิชาที่จะสอบ ชีท เอกสารต่างๆ หรือแนวข้อสอบ(อันนี้สำคัญนะครับ หาให้เจอล่ะ) ค้นเลยๆ ทุกวิชานะครับ
ข้อที่ 2.แยกหมวดหมู่แต่ละวิชา ก่อน-หลัง แล้วหาที่วางไว้อย่างเป็นระเบียบด้วยล่ะ
ข้อที่ 3.เตรียม ดินสอ/ปากกา สมุด และปากกาเน้นข้อความไว้ด้วยนะ
ข้อที่ 4.ทำจิตใจให้ปลอดโปร่งเข้าไว้
ข้อที่ 5.เริ่มอ่านวิชาที่จะต้องสอบก่อนเป็นวิชาแรกเลยครับ ตรงนี้แหละสำคัญมาก น้องๆอย่าอ่านๆๆๆๆๆแล้วก็อ่านเพื่อให้จบ แบบผ่านๆนะครับ ต่อให้น้องๆอ่านสัก 10 รอบแล้วบอกคนอื่นๆว่า "ก็เค้าอ่านเป็นสิบๆรอบแล้วอ่ะ แต่ทำไมทำข้อสอบไม่ได้เลยน่ะ?" อ่ะๆๆๆ!!! อ่านสัก 100 รอบก็ไม่ช่วยอะไรหรอกเจ้าครับ อ่านแล้วต้องทำความเข้าใจไปด้วย ตรงไหนที่คิดว่าสำคัญๆ น้องๆก็เน้นตรงจุดนั้นไว้ อาจจะใช้วิธีการจดบันทึกไว้ หรือ เน้นข้อความด้วยปากกาสีต่างๆก็ได้ครับ เพื่อว่าจะได้กลับมาอ่านอีกครั้ง

ข้อที่ 6.นั้นงัยๆๆๆพี่บอกไปตะกี้เองนะครับว่าอย่าอ่านแบบผ่านๆ ดูสิ!!!น้องๆลองกลับไปอ่านข้อ 3 ใหม่สิครับ แล้วดูซิว่าที่ต่อจากข้อ 3 นะเป็นข้อที่เท่าไหร่ ข้อที่ 4หายไปๆๆๆๆ ส่วนน้องๆคนไหนสังเกตเห็นก่อนที่พี่เฉลย น้องก็ไม่มีปัญหาในเรื่องของการอ่านหนังสือแล้วละครับ เก่งมากๆเลย ส่วนน้องๆคนไหนที่ไม่ทันได้สังเกต ก็เอาจุดนี้เนี่ยแหละครับไปลองปรับใช้กับการอ่านหนังสือดูตามที่พี่บอกไว้ใน ข้อที่ 5 นะครับ

ข้อที่ 7.อ่ะ ต่อๆๆ การไม่ปล่อยให้ท้องว่างก็เป็นสิ่งสำคัญนะครับ ถ้าน้องๆอ่านๆๆๆหนังสืออย่างเดียวจนลืมทานข้าวแล้วละก็ นอกจากน้องๆจะอ่านหนังสือไม่รู้เรื่องแล้ว อาจจะทำให้ป่วย และทำให้เป็นโรคกระเพาะได้ด้วยนะจ๊ะ สำคัญเลย ต้องหาอะไรทานเมื่อท้องว่างด้วยน้า...อย่าทรมานตัวเองละ

ข้อที่ 8.ในการอ่านหนังสือ น้องๆควรเลือกเวลาที่รู้สึกว่าสมองเราพร้อมจะทำงานด้วยนะจ๊ะ แล้วเมื่อน้องๆรู้สึกว่าเริ่มอ่านไม่ไหวแล้วล่ะ อ่านนานมากไปทำให้ปวดตา ปวดหัว ให้น้องๆพักก่อน อาจจะหาอย่างอื่นทำ เช่นพักสายตาโดยการหาเพลงเพราะๆฟัง(อ่ะๆๆๆเลือเพลงที่ฟังแล้วจรรโลงใจด้วยละ ถ้าฟังเพลงที่หนักไป อาจทำให้ยิ่งปวดหัวมากกว่าเดิม ไม่รู้ด้วยนะเจ้าครับ) จะดูทีวี เล่นเกม หรือกิจกรรมอื่นๆที่ทำแล้วผ่อนคลายก็หามาลองทำกันดูนะเจ้าครับ แต่ๆๆๆๆแล้วก็แต่...อย่าพักจนเพลินละ เมื่อถึงเวลาที่ร่างกายผ่อนคลายเพียงพอแล้วก็กลับเข้าสู่โหมดการอ่านหนังสือ ต่อเลยยย (เอาน่าๆทนเอาหน่อยนะเจ้าครับ สอบไม่ได้มีมาบ่อยๆ ตั้งใจให้สุดๆไปเลย)

ข้อที่ 9.นั้นแน่ๆ พี่รู้นะว่าน้องๆเริ่มใส่ใจในรายละเอียดในการอ่านกันบ้างแล้ว คงคิดใช่มั้ยละ ว่าพี่จะแกล้งทำให้ข้อไหนหายไปอีกน่ะ!!! ดีแล้วครับถ้าน้องๆคิดแบบนี้นะ เป็นการฝึกตัวเองไปด้วย ให้เป็นคนรอบคอบ ดีครับๆ อ่ะต่อๆ

ข้อที่ 10.อ้า....อ่านไม่ทันแล้วอ่ะ!!!ทำไงดีๆ เรื่องแบบนี้เกิดขึ้นกับเพื่อนๆคนอื่นๆเกือบทุกคนละครับ ที่สำคัญเลย อย่าตื่นเต้นจนรนล่ะ ตั้งสตินะครับตรงนี้สำคัญมากๆเลย ให้น้องๆหยุดอ่านหนังสือต่อสักพักนึง แล้วดูซิว่า...พรุ่งนี้เราสอบวิชาอะไรบ้าง แล้วหยิบวิชาที่สอบเป็นวิชาแรกมาอ่านทบทวนก่อนเลย แล้วก็ทบทวนวิชาอื่นๆต่อไป (ตรงถ้าคิดว่ากลัวอ่านไม่ทันรอบทบทวนให้น้องๆอ่านในส่วนที่เน้น ที่สำคัญๆเอาไว้ก่อนเลย จำได้มั้ยเอ๋ยว่าในการอ่านรอบแรกพี่ให้น้องๆจดบันทึกที่สำคัญๆไว้ที่คิดว่า น่าจะออก หรือส่วนที่มันยาก จำไม่ได้ก็นำมาอ่านก่อนเลย ตรงส่วนไหนที่น้องๆจำได้ หรือเข้าใจก็เปิดผ่านๆเลยครับ ตอนนี้เราต้องทำเวลาแหละน่ะ)

ข้อที่ 11.เอาละ...อ่านหนังสือสอบก็ต้องฟิสหน่อย น้องๆบางคนอาจจะอ่านหนังสือเร็วและเข้าใจง่ายทำให้การอ่านหนังสือไม่ค่อยมี ปัญหาเลยก็ดีไป ส่วนน้องคนไหนเป็นคนที่อ่านหนังสือช้าก็ต้องขยันกว่าคนอื่นๆหน่อยแล้ว อาจจะทำให้อ่านหนังสือไม่ทัน ทำให้ต้องนอนดึกหน่อย ก็อย่าลืมดูแลตัวเองนะครับ หานมอุ่นๆหรือของว่างทานสักนิดนึง ใส่ใจในสุขภาพหน่อยนะครับ เพราะเดี๋ยวน้องๆอาจป่วยได้ แล้วเป็นงัยน่ะ ไปสอบไม่ได้ แย่เลยน่ะเจ้าครับ สำคัญเลย ถ้าอ่านหนังสือไม่ทันแล้วจริงๆ แต่ร่างกายเราไม่ไหวแล้ว อย่าฝืนนะครับ ได้แค่ไหนก็เอาแค่นั้น รีบเตรียมตัวเข้านอนกันดีกว่าครับ ตื่นเช้ามาจะได้สดชื่น แถมถ้าเราตื่นเร็ว ก็จะมีเวลาอีกนิดในการทบทวนก่อนเข้าห้องสอบนะครับน้องๆ

21 ส.ค. 2554

การพิมพ์หนังสือราชการ

เผอิญไปเจอการพิมพ์หนังสือราชการ
เลยเอามาฝากเพื่อนๆที่กำลังหัดเขียนค่ะ
เพื่อนๆที่หัดเขียนและพิมพ์ หนังสือราชการ
ลองเข้าไปหัดทำได้เลยนะคะ

มีแบบ PDF ให้ Download ไปอ่านด้วยจ้า
ลองเข้าไปที่เวปนี้ได้เลยนะคะ





3 ส.ค. 2554

หนังสือราชการ คืออะไร ?

หนังสือราชการ คือ เอกสารที่เป็นหลักฐานในราชการ ได้แก่
1. หนังสือที่มีการส่งไปมาระหว่างส่วนราชการ
2. หนังสือที่ส่วนราชการมีไปถึงหน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีไปถึงบุคคลภายนอก
3. หนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่บุคคลภายนอกมีมาถึงส่วนราชการ
4. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นเพื่อเป็นหลักฐานในราชการ
5. เอกสารที่ทางราชการจัดทำขึ้นตามกฎหมาย ระเบียบ หรือข้อบังคับ

หนังสือราชการ มี 6 ชนิด
1. หนังสือภายนอก คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีโดยใช้กระดาษตราครุฑ เป็นหนังสือติดต่อระหว่างส่วนราชการ หรือส่วนราชการมีถึงหน่วยงานอื่นใด ซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือที่มีถึงบุคคลภายนอก
2. หนังสือภายใน คือ หนังสือติดต่อราชการที่เป็นแบบพิธีน้อยกว่าหนังสือภายนอก เป็นหนังสือติดภายในกระทรวง ทบวง กรม หรือจังหวัดเดียวกัน ใช้กระดาษบันทึกขัอความ

3. หนังสือประทับตรา คือ หนังสือที่ใช้ประทับตราแทนการลงชื่อของหนัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป โดยให้หัวหน้าส่วนราชการระดับกอง หรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไป เป็นผู้รับผิดชอบลงชื่อย่อกำกับตราหนังสือประทับตรา ให้ใช้ได้ทั้งระหว่างส่วนราชการกับส่วนราชการ และระหว่างส่วนราชการกับบุคคลภายนอก เฉพาะกรณีที่ไม่ใช่เรื่องสำคัญ ได้แก่

1. การขอรายละเอียดเพิ่มเติม
2. การส่งสำเนาหนังสือ สิ่งของ เอกสาร หรือบรรณสาร
3. การตอบรับทราบที่ไม่เกี่ยวกับราชการสำคัญ หรือการเงิน
4. การแจ้งผลงานที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องทราบ
5. การเตือนเรื่องที่ค้าง
6. เรื่องซึ่งหัวหน้าส่วนราชการระดับกรมขึ้นไปกำหนดโดยทำเป็นคำสั่ง ให้ใช้หนังสือประทับตรา


4. หนังสือสั่งการ มี 3 ชนิด ได้แก่
คำสั่ง คือ บรรดาข้อความที่ผู้บังคับบัญชาสั่งการให้ปฏิบัติโดยชอบด้วยกฎหมาย ใช้กระดาษตราครุฑ
ระเบียบ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจหน้าที่ได้วางไว้ โดยจะอาศัยอำนาจของกฎหมาย หรือไม่ก็ได้ เพื่อถือเป็นหลักปฏิบัติงานเป็นการประจำ ใช้กระดาษตราครุฑ
ข้อบังคับ คือ บรรดาข้อความที่ผู้มีอำนาจกำหนดให้ใช้โดยอาศัยอำนาจของกฎหมายที่บัญญัติให้กระทำได้ ใช้กระดาษตราครุฑ


5. หนังสือประชาสัมพันธ์ มี 3 ชนิด ได้แก่
ประกาศ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการระกาศหรือชี้แจงให้ทราบ หรือแนะนำแนวทางปฏิบัติ ใช้กระดาษตราครุฑ
แถลงการณ์ คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความเข้าใจในกิจการของทางราชการ หรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบขัดเจนโดยทั่วกัน ใช้กระดาษตราครุฑ
ข่าว คือ บรรดาข้อความที่ทางราชการเห็นสมควรเผยแพร่ให้ทราบ

6. หนังสือที่เจ้าหน้าที่ทำขึ้นหรือรับไว้เป็นหลักฐานในราชการ คือ หนังสือที่ทางราชการทำขึ้นนอกจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้น หรือหนังสือที่หน่วยงานอื่นใดซึ่งมิใช่ส่วนราชการ หรือบุคคลภายนอกมีมากถึงส่วนราชการ และส่วนราชการรับไว้เป็นหลักฐานของทางราชการมี 4 ชนิด คือ
หนังสือรับรอง คือ หนังสือที่ส่วนราชการออกให้เพื่อรับรองแก่ บุคคล นิติบุคคล หรือหน่วยงาน เพื่อวัตถุประสงค์อย่างหนึ่งอย่างใดให้ปรากฎแก่บุคคลโดยทัวไป ไม่จำเพาะเจาะจง ใช้กระดาษตราครุฑ
รายงานการประชุม คือ การบันทึกความคิดเห็นของผู้มาประชุม ผู้เข้าร่วมประชุม และมติของที่ประชุมไว้เป็นหลักฐาน
บันทึก คือ ข้อความซึ่งผู้ใต้บังคับบัญชาเสนอต่อผู้บังคับบัญชา หรือผู้บังคับบัญชาสั่งการแก่ผู้ใต้บังคับบัญชา หรือข้อความที่เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานระดับต่ำ
กว่าส่วนราชการระดับกรมติดต่อกันในการปฏิบัติราชการ โดยปกติให้ใช้กระดาษบันทึกข้อความ
หนังสืออื่น คือ หนังสือหรือเอกสารอื่นใดที่เกิดขึ้นเนื่องจากการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นหลักฐานในทางราชการ ซึ่งรวมถึง ภาพถ่าย ฟิล์ม แถบบันทึกเสียง แถบบันทึกภาพด้วย หรือหนังสือของบุคคลภายนอก ที่ยื่นต่อเจ้าหน้าที่และเจ้าหน้าที่ได้รับเข้าทะเบียนรับหนังสือของทางราชการแล้ว มีรูปแบบตามที่กระทรวงทบวง กรมจะกำหนดขึ้นใช้ตามความเหมาะสมเว้นแต่มีแบบตามกฎหมายเฉพาะเรื่องให้ทำตามแบบ เช่น โฉนด แผนที่ แบบแผนผัง สัญญา หลักฐานการสืบสวนและสอบสวน และคำร้อง เป็นต้น

Credit
http://www.dmsc.moph.go.th/webroot/secretary/Homepage/content/menu/%BB%C3%D0%E0%C0%B7%CB%B9%D1%A7%CA%D7%CD.html

Modify By Fafa

25 ก.ค. 2554

เรียนออนไลน์ ก.พ

บทเรียนออนไลน์ ของคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน นะคะ
เพื่อนสนใจไปเรียนบทเรียนออนไลน์ได้จากที่นี่เลย
มีพร้อมสำหรับคนที่ต้องการเป็นข้าราชการค่ะ

http://www.chulaonline.com/ocsc.asp

หรือเพื่อนๆสนใจแนวข้อสอบก็ดูได้จากทางขวามือเลยนะค่ะ