แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความแตกต่างของข้าราชการและพนักงานราชการ แสดงบทความทั้งหมด
แสดงบทความที่มีป้ายกำกับ ความแตกต่างของข้าราชการและพนักงานราชการ แสดงบทความทั้งหมด

1 ก.ค. 2555

ข้าราชการกับพนักงานราชการแตกต่างกันอย่างไร ?

เห็นเพื่อนๆถามกันบ่อยเลยเอาความแตกต่างของพนักงานราชการและข้าราชการมาบอกไปเจอบทความและคำตอบจาก Guru เลยเอามาบอกเพื่อนๆจ้า

เจ้าหน้าที่ของรัฐแบ่งเป็นเป็น5ประเภท
1. ข้าราชการ
2. พนักงานราชการ
3. ลูกจ้างประจำ
4. ลูกจ้างชั่วคราว
5. พนักงานของรัฐ

ความแตกต่างของข้าราชการและพนักงานราชการมีดังนี้

ข้าราชการ

1 ความหมาย บุคคลซึ่งได้รับการบรรจุและแต่งตั้งตาม พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ
โดยได้รับเงินเดือนจากเงินงบประมาณหมวดเงินเดือน

2 ระเบียบ/กฎหมาย พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. ๒๕๓๕

3 องค์อำนาจ - ขึ้นกับคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน

4 ลักษณะงาน - ภารกิจหลัก - ภารกิจรอง
- ภารกิจสนับสนุน Technical / งานช่วยอำนวการ มีการใช้อำนาจตามกฎหมายกำหนด

5 ประเภทการจ้าง ตลอดชีวิต (อายุเกษียณ)

6 ค่าตอบแทน
    • บัญชีเงินเดือน
    • บัญชีเงินประจำตำแหน่ง
   - บริหาร
   - เชี่ยวชาญเฉพาะ
   - วิชาชีพเฉพาะ
    • เงินเพิ่ม

7 สิทธิประโยชน์
    • ที่เป็นตัวเงิน ได้แก่
   - ค่ารักษาพยาบาล
   - การศึกษาบุตร ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เบี้ยประชุม

ค่าตอบแทนนอกเวลา ค่าเช่าบ้าน
• ที่ไม่เป็นตัวเงิน ได้แก่ การลา เครื่องราชอิสริยาภรณ์
• บำเหน็จ บำนาญ
8 การเลื่อนเงินเดือน


• ปีละ ๒ ครั้ง • เลื่อนขั้น ๐.๕ ขั้น ๑ ขั้น ๑.๕ ขั้น

9 คุณสมบัติบางประการ
• สัญชาติไทย
• อายุไม่ตํ่ากว่า ๑๘ ปี ไม่เกิน ๖๐ ปี(ตำแหน่งทั่วไปปกติ)

10 วันเวลาทำ งาน
• ตามระเบียบสำ นักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการลาของข้าราชการ พ.ศ.๒๕๓๕

11 การประเมินผลการปฏิบัติงาน
• ประเมินผลการทดลองปฏิบัติราชการ
• ประเมินเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน
• ประเมินเพื่อเลื่อนตำแหน่ง


12 วินัย กำ หนดใน พ.ร.บ. ระเบียบข้าราชการพลเรือนฯ
• ร้ายแรง - ไล่ออก - ปลดออก
• ไม่ร้ายแรง
- ลดขั้นเงินเดือน
- ตัดเงินเดือน
- ภาคทัณฑ์

13 การสิ้นสุดการจ้าง • ตาย
 • พ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำ เหน็จบำนาญข้าราชการ
 • ลาออก
 • ถูกสั่งให้ออก
 • ปลดออกหรือไล่ออก

พนักงานราชการ

1. บุคคลซึ่งได้รับการจ้างตามสัญญาจ้างโดยได้รับค่าตอบแทนจากงบประมาณของส่วนราชการ

2. ใช้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยพนักงานราชการพ.ศ. ๒๕๔๗

3 ขึ้นกับคณะกรรมการบริหารพนักงานราชการ

4 ลักษณะงาน
• เช่นเดียวกับข้าราชการ
- งานที่ใช้ทักษะและไม่ใช้ทักษะ
- งานที่มีระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด
- งานลักษณะเชี่ยวชาญระดับสูงทั่งระดับประเทศและสากล

5 ประเภทการจ้าง
• ตามสัญญาจ้าง(สัญญาทางปกครอง)

6 ค่าตอบแทน
• บัญชีเงินเดือน ๖ บัญชี (ค่าตอบแทนสูงกว่าข้าราชการ)
• เงินประจำ ตำแหน่งในกลุ่ม- วิชาชีพเฉพาะ - เชี่ยวชาญเฉพาะ
• เงินเพิ่มตามมาตรา ๓๓
• เงินค่าประสบการณ์

7 สิทธิประโยชน์
• ที่เป็นตัวเงิน ได้แก่ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เบี้ยประชุม ค่าตอบแทนนอกเวลาราชการ
• ที่ไม่เป็นตัวเงิน ได้แก่การลา (ยกเว้นลาฝึกอบรมดูงาน ปฏิบัติงานวิจัย ลาติดตามคู่สมรส) เครื่องราชอิสริยาภรณ์
• การประกันสังคม และกองทุนเงินทดแทน

8 การเลื่อนเงินเดือน
• ปีละครั้ง ๑ ขั้น หรือ๓-๕% • ผลงานดีเด่นได้รับค่าตอบแทนพิเศษอีก ๓-๕%

9 คุณสมบัติ
• สัญชาติไทย เว้นแต่การจ้างพนักงานราชการชาวต่างประเทศ
• อายุไม่ตํ่ากว่า ๑๘ ปีส่วนอายุขั้นสูงส่วนราชการกำ หนดตามความเหมาะสมของลักษณะงาน

10. เวลาทำงาน เป็นไปตามสัญญาจ้าง

11. การประเมินผลการปฏิบัติงานพนักงานราชการทั่วไป
- ประเมินประจำปีเีพื่อเลื่อนขั้นอัตราค่าตอบแทน
- ประเมินเพื่อต่อสัญญาจ้า้ง
• พนักงานราชการพิเศษ - ประเมินผลสำเร็จของงาน
• ประเมินผลการทดลองปฏิบัติราชการ

12. เรื่องวินัย กำหนดใน พ.ร.บ.กำหนดในระเบียบพนักงานราชการฯ
• ไม่ร้ายแรง
- ลดขั้นเงินเดือน
- ตัดเงินเดือน
- ภาคทัณฑ์
• ร้ายแรง
- ไล่ออกให้ส่วนราชการกำหนดความผิดวินัย

13 การสิ้นสุดการจ้าง
• ครบกำหนดตามสัญญาจ้าง
• ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้าม
• ตาย
• ไม่ผ่านการประเมิน
• ถูกให้ออกเพราะผิดวินัยร้ายแรง

ขอบคุณเนื้อหาและสาระ จากคุณ sokจาก Guru